วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

6 แนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ควรมีสำหรับนักบริหาร

6 แนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ควรมีสำหรับนักบริหาร
โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)

หากคุณเป็นนักบริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน การเรียนรุ้ในเรื่องสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่การเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบข้างนั้น ก็ยังไม่อาจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จที่แท้จริง นักบริหารสมัยใหม่ที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ควรจะต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะความคิดที่เป็นเลิศด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ทักษะความคิดที่ดีที่สุดสำหรับนักบริหาร ก็คงหนีไม่พ้น ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เพื่อทำให้ตนเองเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) เพื่อจะได้ใช้ประกอบกับความรุ้ที่มี เพื่อคิดหาทางแก้ไขปัญหา และ หาแนวทางที่ดีที่สุด สำหรับองค์กรต่อไป

แนวคิดเชิงกลยุทธ์ เริ่มจากแนวคิดที่นำมาใช้ในการศึกสงคราม และ ได้นำเข้ามาสู่วงการธุรกิจ ซึ่งจะเห็นว่า แนวคิดเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ มีมาตั้งแต่อดีต ก่อนสมัย ซุนวู หรือ สามก๊ก เสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ ทางยุโรป และ อเมริกา ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม และได้รวมรวมแนวคิดเชิงกลยุทธ์ไว้มากมาย หลากหลายรูปแบบ แต่ที่น่าสนใจและสามารถนำไปต่อยอดแนวความคิดได้หลากหลาย และเป็นรูปธรรม มีอยู่ 6 แนวคิดคือ

1. ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)
 ความคิดในมุมองขององค์รวม หรือ Holistic Thinking และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking) นี้ เป็นแนวความคิดเพื่อตอบโจทย์ในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างรอบคอบ หรือ หาแนวความคิดให้ครบ ให้ถ้วนถี่ เช่น การเดินหมากรุกแต่ละครั้ง ก็ต้องคิดไปถึงการเดินต่อไปของฝั่งตรงข้ามอีกหลายช๊อตว่าเขาจะเดินได้อย่างไรบ้าง และ เขากำลังต้องการทำอะไร หรือ แม้นแต่การศึกสงครามที่ใช้กลยุทธ์ในการวางแผนการรบ อย่างปรัชญาแบบตะวันออก ตำราพิชัยสงคราม (The Art of War) ของซุนวู เมื่อกว่า 2000 ปีมา ซึ่งได้นำมาใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะ การทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนการทำสงคราม เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อเอาชนะคู่แข่งให้ได้

2. การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking)
 "องค์กรที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็เปรียบเสมือนองค์กรที่กำลังจะตาย" คำกล่าวนี้ทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงขององค์กรในเรื่องต่างๆ ทั้งในการทำงานหรือในเชิงธุรกิจ ต้องมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดหรือ หรือ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หรือ แม้นแต่การเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงต่างๆจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีแนวคิด การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเชิงกลยุทธ์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking) ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจุบันให้เหมาะกับอนาคต ทั้งนี้ การมีวิสัยทัศน์ (Vision Shift) ว่าเราต้องการที่จะอยู่ในตำแหน่งใดให้ถูกต้องเหมาะสม การดำเนินการจัดการ (management Shift) วางแผน กำหนดทิศทางขององค์กร (Direction Shift) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีศักยภาพทางด้านความคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อจัดทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เปลี่ยนแปลงองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง และ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะกับอนาคต (Corporate Culture Shift) ไปพร้อมๆกัน

3. การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission)
 องค์กรสมัยใหม่ (Modern Organization) เน้นหนักทางด้านการกำหนด วิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission) ทั้งนี้ มีผุ้บริหารน้อยคนนัก ที่จะเข้าใจคำสองคำนี้ได้อย่างถ่องแท้ และ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มาจากผู้บริหารที่ไม่มีองค์ความคิด (Visionary Thinking) ก็จะกำหนดวิสัยทัศน์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น ผู้บริหารที่จะมีวิสัยทัศน์ และ สามารถกำหนดพันธกิจ ได้เหมาะสม จึงต้องมีความสามารถทางด้าน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ทั้ง สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อองค์กร เพื่อกำหนดวิสัยทัศนื และ สภาพแวดล้อมภายใน เพื่อกำหนดพันธกิจ ให้เหมาะสมเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

4. การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)
 นักบริหารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือ นวัตกรรม ย่อมใส่ใจและให้ความสำคัญต่อ Strategic Innovation หรือ นวัตกรรมทางกลยุทธ์มากขึ้น ทั้งนี้ เพราะ หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการพัฒนาเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในมุมมองเดียวกัน หากองค์กรทั่วไป มองว่า การสร้างให้ผู้บริหารของตนนั้น มีมุมมองในเช้งบูรณาการ และ การคิดนอกกรอบ ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังเช่น องค์กรเก่าๆที่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ คอมพิวเตอร์ในสมัย 10-15 ปีที่ผ่านมา แต่องค์กรที่ล้มหายตายจากไป ก็จะมีมุมว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟืย เสียเงินเปล่า เป็นต้น ทั้งนี้ การสร้างความคิดที่เรียกว่า Strategic Innovation Thinking จะเป็นการสร้างมุมมองในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ เทคนิคการพัฒนาเพื่อให้แตกต่าง (Creative Thinking
 & Innovation Thinking) รวมไปถึง การคิดแบบ Blue Ocean เพื่อหาหนทางในการตลาดแบบใหม่ๆ ที่ไม่แข่งขันกันมากเกินไป

5. การวางแผนทางเลือก (Scenario Planning) และ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
 เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน ธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับความผันผวนที่เกิดขึ้น ทั้งจาก สังคม เศรษฐกิจ คู่แข่ง รวมทั้งความต้องการของลูกค้า การวางแผนขององค์กรต่างๆ จึงต้องพึ่งนักบริหารที่มีมุมมองแนวคิดในเชิงความเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Future Thinking) และ จัดทำแผนทางเลือก (Scenario Planning) ที่หลากหลายเพื่อมารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆกัน ทั้งนี้
ภายใต้ภาวะความผันผวนของสภาพแวดล้อมปัจจุบัน การบริหารแผนงานต่างๆ จึงต้องเน้นการมองถึงอนาคตอยู่ตลอดเวลา (Future
Thinking) และในเชิงการคิดเชิงกลยุทธ์นั้น ในการสร้างแผนทางเลือกต่างๆสำหรับอนาคต( Scenario Planning ) จึงเป็นรูปแบบแนวคิด
 เชิงกลยุทธ์อีกแบบหนึ่ง ที่หลายๆ องค์กรชั้นนำได้หยิบเครื่องมือนี้มาใช้ประยุกต์ต่อ การสร้างแผนเพื่อตอบสนองกับ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ถึง
 - การคิดเชิงกลยุทธ์ในการมองอนาคต
 - การสร้างทางเลือกเชิงกลยุทธ์จากวิธี Scenario
 - เทคนิคการสร้างแผนกลยุทธ์ด้วยการสร้างภาพในอนาคต

6. Game Theory
 Game Theory ของ John Nash เป็นวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับรางวัลโนเบล ถึง 2 ครั้ง หลักการแนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่คำนึงถีง บุคคล ส่วนได้ ส่วนเสีย ผลกระทบอื่นๆ เพื่อมองให้เห็นถึงความเป็นจริง ในความต้องการ และ ความเป็นไป เช่น ความต้องการของลูกค้า การทำตัวเป็นลูกค้า ประเมินความต้องการของทั้งสองฝ่าย เพื่อที่จะหาจุดที่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นักบริหาร จำเป็นที่จะต้องสร้างให้มีขึ้นในแนวความคิดของตนเองทั้งสิ้น เพื่อใช้ทั้งในการ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ ทั้งตัวเอง และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทราบว่า เราควรที่จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดกลับเข้ามา

ทฤษฎีเกม แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

Zero Sum Game - มุมมองของความคิด มีคนได้ ก็มีคนเสีย หรือ มากที่สุดก็เสมอกัน เช่น การเล่นฟุตบอล จะมีทีมใดทีมหนึ่งที่จะชนะ เมื่อมีคนชนะ ก็จะมีคนแพ้ และที่สำคัญ ไม่มีใครที่อยากเป็นคนพ่ายแพ้ ดังนั้น ทุกคนจึงพยายามหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ เพื่อให้เป็นฝ่ายชนะ
ความหมายในดิกชันนารี ให้ความหมายของ Zero-sum game ไว้ว่า หมายถึง สถานการณ์ที่สองฝ่ายแข่งขันกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะ อีกฝ่ายก็จะสูญเสีย หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อเราเป็นฝ่ายได้ อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายเสีย โดยสิ่งสำคัญคือจำนวน (เงินหรือผลประโยชน์) ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับนั้นจะเทียบเท่ากับจำนวนที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสียไป (อาจจะไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าเป็นชัยชนะบนความสูญเสียของคนอื่น) ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Last man standing game

นักบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ดี จะพยายามหลีกเลี่ยง Zero Sum Game เพราะอาจจะส่งผลเสียในอนาคต ยกเว้น เขาเชื่อมั่นว่าตนเองจะเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอน หรือ เขาไม่มีหนทางอื่นๆที่จะเลือกอีกแล้ว ถึงได้เข้าไปเล่นใน Zero Sum Game (Win - Lose)

Negative Sum Game - หากมีเกมใดที่จะเข้าไปแล้วทำให้ผู้เล่นเสียผลประโยชน์ หรือ ใครก็ตามเข้ามาในเกมนี้ ก็จะเสียหาย ผู้เล่นที่เข้าเล่นในเกมส์นี้เหมือนคนบ้า ที่จะนำทั้งตัวเองและผู้เล่นอีกฝ่ายไปสู่การสูญเสีย ไม่มีใครได้ประโยชน์ ทุกคนเสียประโยชน์เท่ากัน เช่น การใช้สงครามราคา ที่ผู้ค้าแต่ละรายพยายามลดราคาลงให้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อหวังให้ยอดการจำหน่ายสูงขึ้น จนผู้ค้าในตลาดทั้งหมดต้องลดราคาลงตาม สถานการณ์แบบนี้ มีแต่สูญเสีย แข่งขันกัน ซึ่งถ้ามองในมุมของผู้ขาย ก็จะพบว่า ต่างฝ่ายต่างขายตัดราคา เพื่อพยายามยึดครองลูกค้าให้มากที่สุด แต่ไม่ได้คำนึงถึงกำไร-ขาดทุน จนบางครั้งขายขาดทุนไปจำนวนมาก เพื่อเอาชนะอีกฝ่าย และหากชนะ แต่ลูกค้าก็อยากที่จะได้ราคาถูกเช่นเดิม อาจจะหาคู่แข่งรายใหม่มาเป็นเพื่อนเล่นกับเราได้ ดังนั้น เกมที่เล่นแล้วมีแต่เสีย นักบริหารเชิงกลยุทธ์จะหลีกเลี่ยงเกมเหล่านี้ (Lose - Lose)

Positive Sum Game - เป็นเกมที่ผู้เล่นทุกคนได้ผลประโยชน์ จะมากหรือน้อยก็ยังได้ผลประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ราคาน้ำมัน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันยอมที่จะฮั้วกำลังการผลิตไม่ให้เกินโควต้าของแต่ละประเทศเพื่อควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก มากกว่าที่จะเร่งกำลังการผลิตของตัวเองให้มากที่สุด เพราะการกระทำเช่นนั้น แม้ว่าตนเองจะขายน้ำมันได้มากขึ้น แต่ประเทศอื่นก็จะทำตามและส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจจะลดลง ผู้ชนะในเกมส์คือประเทศที่มีน้ำมันเหลืออยู่เป็นประเทศสุดท้ายที่อาจจะกลายเป็นประเทศที่ขายน้ำมันเป็นเจ้าสุดท้ายของโลก ดังนั้นทุกประเทศที่ผลิตน้ำมันจึงรวมหัวกันกำหนดโควต้าเพื่อควบคุมราคาและยอมรับผลประโยชน์ที่แน่นอนแต่ไม่ได้มากที่สุดของแต่ละประเทศ เป็นต้น

นักบริหารเชิงกลยุทธ์ จะพยายามเล่นเกมนี้มากที่สุด เพื่อที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน แบบ Win-Win แต่ทั้งนี้ คนที่ฉลาดกว่า และ มองเห็นลู่ทางที่ดีกว่า ก็จะได้รับผลประโยชน์จากเกมนี้มากกว่าอยู่ดี


แหล่งที่มา::http://wbjoong.exteen.com/20100812/entry-1

"ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ" นักบริหารมือทอง ฟื้น 2 พันบริษัท

มุมสำหรับนักบริหาร ที่มองหาแนวทาง การบริหารงาน และการจัดองค์กร แนะแนวคิดด้านบริหารจัดการใหม่ๆ ที่กำลังได้รับ ความสนใจ จากนักบริหาร และในแวดวง การพัฒนาบุคลากร
จากสมุดบันทึกกว่า 70 เล่มที่ถูกถ่ายทอดเป็นหนังสือ "จากสมุดบันทึกของผม" หรือ President ’s Note รวบรวมแนวคิด 142 ข้อจากประสบการณ์บริหารธุรกิจ

สามารถแก้ไขวิกฤติของบริษัทกว่า 2,000 แห่ง ไม่เพียงได้อ่าน ยิ่งมีโอกาสได้พูดคุยกับเจ้าของประสบการณ์ ยิ่งทึ่งในแนวคิดของชายมากประสบการณ์ผู้นี้
ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ นักบริหารมือทองจากเมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันนั่งเก้าอี้ CEO และผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยศักยภาพบริษัท และยังเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจนานาชาติ มีประสบการณ์การทำงานกว่า 40 ปี ถือเป็นสุดยอดนักบริหารที่เฉียบคมและเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูกิจการ ทำให้สามารถกอบกู้กิจการบริษัทต่างๆ ที่กำลังจะล้มละลายให้สามารถปลดหนี้และกลับมีกำไรได้อีกครั้ง
“ผมใช้เวลาหลังเลิกงาน เริ่มเขียนบันทึกเกี่ยวกับการทำงานตั้งแต่อายุ 27 ปี ทำมาแล้วถึง 45 ปี โดยส่วนใหญ่จะเลือกจดบันทึกในเรื่องธุรกิจ ทำให้มีสมุดบันทึกมากถึง 70 เล่มแล้วตอนนี้ และเห็นว่ามีหลายเรื่องในสมุดบันทึกที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารเลยอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์และแนวคิด กลายมาเป็นหนังสือจำนวน 7 เล่ม โดยเล่มนี้เป็นเล่มที่ 3 ซึ่งนำมาแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยครั้งแรก”
เขาอธิบายถึงเนื้อหาในหนังสือว่า ผลงานและแนวคิดทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถูกนำมากลั่นกรองเป็น "ทฤษฎี" ในการบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบของตัวเขาเอง
โดยมีหลักการง่ายๆ คือ ทำอย่างไรจึงจะให้บริษัทนั้นๆ สามารถ "สร้างพลัง" เพื่อดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ
แม้แนวคิดของเขาดูไม่ต่างจากแนวคิดในการบริหารองค์กรทั่วไป แต่เขาบอกว่า "ไม่ใช่เรื่องง่าย" ที่จะทำได้อย่างที่บอก โดยเขามองว่า การสร้างพลังต้องเกิดจากการสร้างสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ดี ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของคนในองค์กรนั้นๆ และถือเป็นแนวทางแรกสุด ไม่ว่าจะฟื้นฟูกิจการใดๆ ก็ตาม
นอกจากเรื่องของสภาวะแวดล้อมในการทำงานแล้ว ทฤษฎีของเขายังกลั่นกรองแนวคิดเหลือ 142 ข้อเพื่อทำให้ผู้บริหารและบุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้ได้ง่าย กระชับ และรวดเร็ว จนหนังสือติดอันดับ Best seller ทำยอดขายมากที่สุดในญี่ปุ่น
โดยในแนวคิดจำนวน 142 ข้อนี้ยังถูกนำมาทำให้กระชับลงอีกเป็น 3 ข้อใหญ่ ได้แก่
ข้อแรก ศักยภาพในการบริหารองค์กร หมายถึงทำอย่างไรผู้บริหารจึงจะมีศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อองค์กรมากที่สุด ที่สำคัญองค์กรจะรอดหรือไม่รอดขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้บริหาร
ข้อที่สอง ความมีเอกภาพขององค์กรนั้นๆ สะท้อนให้เห็นจากการแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ เช่น สินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่ สินค้านั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งพนักงานมีความรู้-ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
โดยเขาอธิบายให้ฟังว่า ถ้าคนในองค์กรมีความคิดที่มีเอกภาพไปในแนวทางเดียวกันกับองค์กรแล้ว ผลงานหรือสินค้านั้นๆ ก็จะถูกพัฒนาออกมาได้อย่างมีคุณภาพเช่นกัน
และข้อที่สาม ทำอย่างไรจึงจะทำให้องค์กรอยู่รอดได้ โดยต้องอยู่รอดอย่างมีความเสี่ยง "น้อย" ที่สุด
"ถ้าทำได้ตาม 3 ข้อนี้ รับรองว่าองค์กรจะไม่ขาดทุน หรือล้มละลาย โดยเขาเองกล้าการันตีจากประสบการณ์ที่เขาเข้าไปช่วยให้แนวคิดในการบริหารงานกับบริษัทกว่า 2,000 แห่งให้กลับมามีตัวเลขผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น"
เขายังบอกด้วยว่า ประสบการณ์ในการฟื้นฟูกิจการกว่า 2,000 บริษัทในญี่ปุ่น ไม่มีบริษัทใดที่เลือกใช้วิธี "ปลดพนักงาน" แม้แต่บริษัทเดียว
"โดยส่วนตัวผมเกลียดวิธีปลดพนักงานมาก การบริหารงานผิดพลาดน่าจะเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบมากกว่าการปลดพนักงานซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ"

ฮาเซงาวะ ยังเล่าถึงประสบการณ์ที่เขาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูกิจการว่า อย่างตอนที่บริษัทนิคอนรวมตัวกับบริษัทเอซิรอล ผู้ผลิตเลนส์ของฝรั่งเศส เขาเข้ามาช่วยตั้งแต่การบริหารจัดการร่วม ไปจนถึงการก่อตั้งบริษัทร่วม จนสามารถฟื้นฟูบริษัทให้กลับมามีกำไรจากการขายในปีแรก พอปีที่สองก็เริ่มมีกำไรจากการบริหารงานจนสามารถจ่ายเงินปันผลได้ ปีที่สามสามารถปลดหนี้ได้

เขายังบอกด้วยว่า การบริหารงานของบริษัทในขณะนี้ "สุ่มเสี่ยง" ต่อการบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดทุน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีบริษัทลูกกระจายอยู่ทั่วโลก เพราะอาจลืมหรือไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการดึงศักยภาพของพนักงานออกมาใช้อย่างเต็มที่

"ผมอยากให้ทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ของผม เพราะเชื่อว่าอย่างน้อยคุณจะได้แง่คิดจากประสบการณ์การทำงานของผมเพื่อนำไปใช้กับการทำงาน และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริหารและบุคคลทั่วไป"

ฮาเซงาวะ บอกว่า หลายบริษัทในญี่ปุ่นถึงขนาดทำเป็นป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอวิธีคิดของเขาแปะไว้ในบริษัทเพื่อให้พนักงานทุกคนได้อ่าน นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารหลายคนที่นำเอาแนวคิดของเขาไปใช้แล้วประสบความสำเร็จและเขียนจดหมายมาขอบคุณ

นักบริหารอย่างเขายังมอง "ความแตกต่าง" ระหว่างบริษัทสัญชาติตะวันตก กับบริษัทสัญชาติเอเชียว่า มีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของสปิริตในการทำงาน เช่น การปลดพนักงานบริษัทในยุโรปหรืออเมริกามักจะเลือกใช้วิธีนี้ก่อน ต่างจากบริษัทในเอเชียที่มักจะไม่ค่อยทำกัน ทำให้บริษัทมีความเป็นเอกภาพค่อนข้างสูง

ในวัย 71 ปีของเขา ถือว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากมายหลากหลาย และเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการทำงานเขาบอกว่า ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิตได้นั้น ต้องเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ การมองอดีต ทำให้รับรู้ปัจจุบัน และทำให้เรามองเห็นอนาคต นี่คือส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้เขาประสบความสำเร็จ

ทว่า สิ่งที่จะขาดไม่ได้สำหรับผู้ที่จะประสบความสำเร็จคือ ความจริงใจ และความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำธุรกิจ อีกสิ่งที่สำคัญคือ


แหล่งที่มา::http://www.nationejobs.com/content/manage/concept/template.php?conno=1079

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

นักบริหารกับความสำเร็จ

การบริหารงานตามแนวคิดในยุคปัจจุบัน    ความสำเร็จสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ในหน่วยงานขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเหมาะสม  มีการบริหารงานตามแนวความคิดของกลุ่มมนุษยสัมพันธ์เป็นพื้นฐาน หน่วยงานหลายหน่วยที่ดูเหมือนว่าประสบความสำเร็จเมื่อมองจากภายนอก  แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิด  จะเห็นได้ว่าแท้จริงยังจะสามารถพัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกมากกว่านี้ถ้าได้นักบริหารที่ดีมีคุณภาพ  และความสำเร็จที่มองเห็นได้ก็เป็นเพียงชั่วคราว  เพราะได้ก่อให้เกิดปัญหาสะสมไว้รอวันที่จะปะทุออกมาในระยะยาว
                ปัญหาความมีประสิทธิภาพการบริหารงานในระบบราชการยังขาดมาตรฐานที่ใช้ในการชี้วัด  ทำให้หลายหน่วยงานสูญเสียโอกาสและเวลา  เพราะนักบริหารที่รับผิดชอบมิได้มุ่งมั่น  ปฏิบัติงานตามหน้าที่ไปเรื่อยๆ และปลอดภัยไว้ก่อน  เปรียบเสมือนกับการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ  ซึ่งแตกต่างจากนักบริหารในระบบธุรกิจที่เล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน  มุ่งมั่นที่จะได้ชัยชนะ  และสนุกกับเกมส์อยู่ตลอดเวลา   ด้วยเหตุนี้เองที่นักบริหารในระบบธุรกิจจะต้องเป็นผู้มีประสิทธิผลสูง  และเข้าใจหัวใจสำคัญของความสำเร็จว่าต้องเริ่มต้นที่คน  ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน  เพราะในระบบราชการยังยึดติดกับการใช้อำนาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน
                จากแนวความคิดที่มีตัวอย่างให้เห็นมากมายในระบบราชการ  ทำให้นักบริหารประเมินค่าตัวเองผิด  มองข้ามการพัฒนาปรับปรุงตนเอง  ปฏิบัติตามกรอบความคิดและอุปนิสัยเดิมๆ ที่มีอยู่  เพราะมีความเชื่อว่าเท่านี้ก็เพียงพอในการบริหารงานแล้ว  แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงของการบริหารงาน  มีปัจจัยของความสำเร็จหลายประการ  และสิ่งที่ถูกมองข้ามอยู่เสมอก็คือ สิ่งที่อยู่ภายในของนักบริหารซึ่งดูเสมือนว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ยิ่งใหญ่มหาศาล  เพราะส่งผลทางด้านจิตใจกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมาก  ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจพอสรุปได้ดังนี้
               1.  ความเป็นผู้นำ      นักบริหารกับความเป็นผู้นำต้องมาเป็นอันดับแรก  ซึ่งจะต้องกล้าคิด  กล้าทำ  กล้าตัดสินใจ  และกล้าที่จะรับผิดชอบ  พร้อมที่จะนำหน่วยงานก้าวไปข้างหน้า  แสวงหาความท้าทาย  เมื่อมีปัญหาหรือเกิดสถานการณ์ยุ่งยาก  นักบริหารจะต้องเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหากับเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด  มิใช่ทำตัวอยู่เหนือปัญหาและเอาตัวรอด
                 2.  ความรู้ความสามารถและปฏิภาณ       เป็นตัวชี้วัดศักยภาพของนักบริหารได้ค่อนข้างชัดเจน  เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ขอคำปรึกษา  ขอคำแนะนำ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา  หรือไม่เมื่อผู้บริหารนั่งเป็นประธานในที่ประชุม  เหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของผู้บริหาร  การยอมรับหรือไม่ยอมรับก็จะเกิดขึ้นติดตามมา  มีหลายๆ คนไขว่คว้าเพื่อก้าวขึ้นไปเป็นนักบริหาร  โดยลืมคิดไปว่าตนเองมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำงานได้หรือไม่
                 3.  วิธีการพูด      นักบริหารที่เก่งและเป็นคนดีหลายคนไม่ประสบผลสำเร็จในการบริหารงาน  เพราะเมื่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่  ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี  คำพูดที่พูดออกไปขาดความน่าเชื่อถือ  ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดจิตวิทยาการพูด  จากสุภาษิตที่ว่าพูดดีเป็นศรีแก่ปากคงจะใช้ได้ตลอดไป  โดยเฉพาะกับนักบริหารที่คำพูดทุกคำจะได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่  ได้รับการจดจำเพื่อนำไปปฏิบัติ   ดังนั้น  ผู้บริหารต้องระมัดระวังไม่พูดด้วยอารมณ์  ซึ่งคำพูดที่ก่อให้เกิดปัญหาและมีให้เห็นได้บ่อยครั้ง  ได้แก่ลักษณะการพูดต่อไปนี้  พูดแบบคนบ้าอำนาจ  พูดด้วยคำหยาบ  พูดแบบประจานและดูถูกทับถม  พูดให้ร้าย  พูดอวดเก่ง อวดมี และอวดรวย  พูดแล้วตนเองไม่ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง  เหล่านี้มีแต่สร้างความไม่สบายใจให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งนั้น
                 4.  ความจริงใจ      นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะนำไปสู่แรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่เกิดความทุ่มเทร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่  เพราะเมื่อทุกคนมองออกถึงความจริงใจของผู้บริหารก็จะเกิดความรักความศรัทธา  เพราะฉะนั้น  การทำงานอยู่ร่วมกันถ้าเพื่อเพียงแต่ทำไปโดยหน้าที่หรือเพื่อผลประโยชน์เท่านั้น  ความจริงใจก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้  ดังนั้น  การที่คาดหวังให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นไปได้ยาก  อีกทั้ง ถ้าขาดความจริงใจซึ่งกันและกันจะเป็นจุดเปราะบาง  ที่จะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในหน่วยงานตามมาได้ง่าย
                 5.  ความมีเสน่ห์      จากคำพูดที่ว่าการเริ่มต้นดีก็ได้เปรียบไปแล้วครึ่งหนึ่งนั้น  เปรียบเสมือนกับผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดี  หน้าตาดี  พูดจาไพเราะ  แต่งกายสะอาดเรียบร้อย  มีมารยาทดี และมีมนุษยสัมพันธ์ดี เหล่านี้ก็ชนะใจเจ้าหน้าที่ไปบ้างแล้ว  ดังเช่นกับคนที่มีภรรยาสวยก็มีความภาคภูมิใจและอยากจะโชว์  ฉันใดก็ฉันนั้นกับผู้บริหารของหน่วยงานเช่นกัน
                แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารงานเป็นศาสตร์ที่ไม่รู้จบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความเป็นมนุษย์  ซึ่งได้ถูกบรรจุสิ่งต่างๆ ไว้มากมายภายในตัว    ดังที่พูดกันว่า      สิ่งที่อยู่ข้างหลังเรา  และสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเราไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก  เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ภายในตัวเรา      ดังนั้น  นักบริหารควรย้อนกลับมามองตัวเอง  และยอมรับความจริง  มุ่งมั่นที่จะยกระดับให้เราเป็นนักบริหารมืออาชีพทันยุคปัจจุบัน
แหล่งที่มา :: http://skn-rsc.ricethailand.go.th/success.htm

ทักษะผู้บริหาร

ทักษะผู้บริหาร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
http://www.drsuthichai.com
เมื่อกล่าวคำว่า “ ผู้บริหาร ” มีความสำคัญมากกับการเจริญก้าวหน้าและความอยู่รอดขององค์กร ผู้บริหาร มักเป็น กลุ่มคนหรือคน ที่มีหน้าที่มอบหมายงาน สั่งการ ให้คุณให้โทษ อีกทั้งต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลงานให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ซึ่ง การเป็นผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีทักษะ มีศิลปะ ในการทำงาน เนื่องจากภาระหน้าที่ของผู้บริหารมีมากมาย เช่น ต้องดูแลการทำงานของพนักงาน , ต้องค่อยแนะนำอบรมสั่งสอนลูกน้อง , บางครั้งก็ต้องดุด่าหรือลงโทษลูกน้อง ฯลฯ
สำหรับทักษะในการบริหารงานนั้น มีนักวิชาการ ครู อาจารย์ พูดกันมามากมายซึ่งคงหนีไม่พ้นในเรื่องของ 1.เก่งงาน 2.เก่งคน 3.เก่งคิด 4.เก่งดำเนินชีวิต
1.เก่งงาน ผู้บริหารที่ดีต้องเป็นบุคคลที่ทำงานเก่ง มีการเรียนรู้และพัฒนาการทำงานของตนเองตลอดเวลา อีกทั้งต้องผ่านประสบการณ์ในการทำงานมานานพอสมควร ซึ่งการเป็นผู้บริหารที่ดีจะต้องเป็นคนที่สอนงานลูกน้องได้ เมื่อลูกน้องเกิดปัญหาในการทำงาน ฉะนั้นหากผู้บริหารทำงานไม่เป็นหรือไม่เคยผ่านงานด้านนั้นๆ มาเลย ผู้บริหารผู้นั้นคงไม่สามารถอธิบายหรือสอนลูกน้องให้เข้าใจในงานได้
2.เก่งคน เนื่องจากการทำงานของผู้บริหารจะต้องทำงานเกี่ยวกับคน กล่าวคือต้องดูแลลูกน้อง อีกทั้งต้องรับฟังคำสั่งของเจ้านาย ดังนั้นศิลปะในการทำงานร่วมกันกับคน จึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการเป็นนักบริหารที่ดี เช่น ต้องเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ ต้องเป็นนักสื่อสาร ต้องเป็นครูหรือแบบอย่างที่ดีของลูกน้อง ต้องเป็นคนที่รู้จักวางตน ต้องเป็นคนที่รู้จักมารยาทของสังคม ฯลฯ ดังนั้นการทำงานเก่งอย่างเดียว ก็ไม่สามารถผลักดันให้ผู้บริหารก้าวสู่ตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น แต่การรวมจิตใจคนหรือการเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กรจะทำให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในสังคมในองค์กรได้มากกว่าการทำงานเก่ง
3.เก่งคิด งานของผู้บริหารจำเป็นอย่างมากจะต้องใช้ความคิดโดยเฉพาะงานของผู้บริหารระดับสูง ยิ่งมีความจำเป็นจะต้องใช้ความคิดที่มากยิ่งขึ้น เช่น ผู้บริหารจะคิดถึงเรื่องของกำไรขาดทุนขององค์กร ผู้บริหารจะต้องคิดเรื่องของการพัฒนางานอยู่เสมอ ผู้บริหารที่ดีเมื่อเกิดปัญหาจะต้องใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหานั้นๆ ผู้บริหารที่ดีต้องใช้ความคิดในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆอยู่เสมอ
4.เก่งดำเนินชีวิต บางคนเป็นผู้บริหารที่เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด แต่ขาดทักษะในการดำเนินชีวิต ก็ทำให้อายุขัยของตนเองสั้นลงเหมือนกัน ดังนั้นทักษะในการดำเนินชีวิตจึงมีความสำคัญพอๆกับทักษะในการทำงาน การเป็นผู้บริหารที่ดีควรแบ่งเวลา สำหรับดูแลสุขภาพร่างกายของตน ผู้บริหารที่ดีควรแบ่งเวลาสำหรับออกงานสังคม ผู้บริหารที่ดีต้องแบ่งเวลาสำหรับการดูแลครอบครัว อีกทั้งต้องแบ่งเวลาสำหรับพักผ่อน นั่งสมาธิ เพื่อผ่อนคลายความเครียดที่เกิดจากการสะสมของการทำงาน
ทั้ง 4 ข้อข้างต้นดังกล่าวคือทักษะของผู้บริหาร
สำหรับในยุคปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าผู้บริหารต้องทำงานหนักกว่าในอดีต ผู้บริหารจะต้องพัฒนาตนเองหลายด้านกว่าในอดีต เนื่องจากเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆตลอดเวลา ผู้บริหารในยุคปัจจุบันจะต้องเรียนรู้งานด้านประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ตนเองและองค์กร ผู้บริหารที่ดีต้องเป็นคนที่ต้องอดทนต้องแรงเสียดทานซึ่งมีมากกว่าในอดีต

แหล่งที่มา::http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mrmarkandtony&month=09-2011&date=30&group=1&gblog=68

วิธีสู่ความสำเร็จของผู้บริหารระดับกลาง 10 ประการ


เรามักได้ยินเสมอ ๆ ว่าการเป็นคนกลางมักพบกับความลำบากใจ การเป็น ผู้บริหาร ระดับกลางมีบทบาทในการนำนโยบายและวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารระดับสูงมาปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ในขณะเดียวกันต้องรู้จักบริหารจัดการลูกน้องในระดับปฏิบัติการให้ดำเนินการตามทิศทางที่กำหนด ผู้บริหารระดับกลางจึงเปรียบเสมือนคนกลางระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับพนักงานระดับปฏิบัติการ หากผู้บริหารระดับกลางมีความพร้อมจะนำไปสู่การบริหารลูกน้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที ผู้บริหารระดับกลางจึงมีความสำคัญอย่างมากในการผลักดันองค์กรให้รุดหน้า ในภาวะการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงอย่างในปัจจุบัน ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีคุณลักษณะดังนี้


1.
จัดระเบียบองค์กรให้พร้อมและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ รวมทั้งมีความว่องไวในการบริหารงาน สื่อสาร สั่งการให้ชัดเจน และติดตามความสำเร็จของการทำงานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการสื่อสาร ทำให้การงานเป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น และมุ่งสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
2.
มุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างหนัก เพื่อให้เกิดการยอมรับที่ดี ตลอดจนเป็นต้นแบบการปฏิบัติงานแก่ทีมงานได้เอาเป็นแบบอย่าง
3.
มุ่งเน้นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร ต้องเลือกตัดสินใจดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปสู่ชัยชนะขององค์กร โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
4.
เตรียมพร้อมทำการบ้านก่อนเข้าประชุม หรือเจรจากับผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสิน ควรศึกษาให้ดีเสียก่อน ว่าเขามีความคิดเห็นหรือความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร เพื่อดำเนินการให้ได้ถูกทิศทางและไม่เสียเวลา
5.
รู้จักตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ทีมงานในการแสวงหาคำตอบให้กับเรื่องต่างๆ ที่ซ่อนเร้นหรือยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน
6.
รู้จักวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา รู้จักวิเคราะห์ว่าอะไรที่เป็นปัญหาขัดขวางกระบวนการทำงาน พยายามทำความเข้าใจสาเหตุและหาหนทางแก้ไข
7.
มองโลกในแง่ดีและรู้จักปล่อยวาง บางครั้งหากอุปสรรคบางอย่างเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ควรจะปล่อยวาง และหันไปจัดการกับปัญหาอื่นแทน
8.
เชื่อในศักยภาพของคน ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ หากได้รับคำแนะนำที่ดีจากผู้นำ ลูกน้องจะมีกำลังใจและสามารถทำงานได้ดี
9.
รักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น หากเคยมีเรื่องผิดใจ หรือความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนักกับลูกน้องกับเพื่อนร่วมงาน ควรรีบปรับความเข้าใจ หากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่องานในระยะยาว
10.
เป็นผู้ที่ปรารถนาความสำเร็จ และมีความสุขเมื่องานที่ทำนั้นสำเร็จลุล่วง ผู้บริหารที่ดีต้องมีไฟอยู่ตลอดเวลา ต้องมองไปข้างหน้า และหาแนวทางก้าวสู่ความสำเร็จที่ปรารถนาให้ได้

แหล่งที่มา::http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/general_editor37.htm?ID=679

บันไดสู่ความสำเร็จทางการเงิน

แนวทางสู่ความสำเร็จ