วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

การบริหารงานองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

การบริหารงานองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
Categories: การบริหารจัดการ
ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2554 มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมวิชาการที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้นในเรื่อง การบริหารงานห้องสมุดแบบมืออาชีพ (Professional Library Management) นับว่าเป็นโอกาสดีในชีวิตอีกครั้งที่ได้ฟังผู้มีประสบการณ์ในการบริหารแบบมืออาชีพจากหลายองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหารจากบริษัทซีพี  และวิทยากรอีกหลายท่านที่เป็นแบบอย่างของผู้นำที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ  ดิฉันจึงนำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายและจากเอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากร  มาประมวลให้ทราบถึงการบริหารงานองค์กรแบบมืออาชีพ เพื่อให้ผู้สนใจที่ไม่มีโอกาสเข้ารับฟัง สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริหารงานห้องสมุดให้ประสบผลสำเร็จ
การบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ  ผู้บริหารควรปฏิบัติดังนี้
1.สร้างคนเก่ง
ปรัชญาและแนวคิดการสร้างคนเก่งของเจ้าสัวธนินทร์ เจียรวนนท์  ได้แก่ คนเก่งต้องการอำนาจ เกียรติ และ เงิน
-          อำนาจ :คนเก่งต้องมีเวที  มีอำนาจสำหรับใช้ในการแสดงความสามารถ
-          เกียรติ :คนเก่งต้องได้รับการยอมรับ
-          เงิน :ผลตอบแทนที่จูงใจ
องค์กรควรมีนโยบายพัฒนาคนเก่ง สร้างคนที่เก่งกว่าตนเองขึ้นมา เลือกคนให้ถูก ใช้คนให้เป็น
-          เลือกคนที่มีความรับผิดชอบสูง
-          เลือกคนที่มีความขยัน
-          เลือกคนที่มีความอดทน
-          เลือกคนที่มีความพยายามสูง
-          เลือกคนที่ไม่เห็นแก่ตัว
องค์ประกอบที่ทำให้คนเรามีความเจริญ  คือ ต้องมีโอกาส  ต้องมองจุดเด่นของผู้อื่น ต้องเป็นคนมีจิตใจให้อภัยไม่อาฆาต ต้องหาปมด้อยของตนเอง และต้องรู้จักเสียเปรียบ
2. มีกลยุทธ์การบริหารงาน   ประยุกต์ใช้เครื่องมือ Balances Scorecard  ศึกษาวิจัยหาความต้องการของลูกค้า
3. มีกลยุทธ์ในการบริหารงานคน  สร้างค่านิยม  สร้างวัฒนธรรมการสร้างคนเก่ง เครียมคนเก่ง  พัฒนาผู้นำในทุกระดับ หาตัวตายตัวแทน
มีปัจจัยที่จะกระตุ้นให้คนทำงาน   หัวหน้าต้องชื่นชม/ยกย่องลูกน้อง ต้องมีผลตอบแทนที่จูงใจ ทำงานแบบ TQM เชื่อมประสานงานให้กลมกลืน เหมือนการบรรเลงดนตรีวงออเคสตาร์ (Orchestra)
4. เป็นผู้ที่มีทักษะกระบวนการในการสร้างให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ (Synergy Leaadership)จากบุคคลรอบตัว อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จเกินเป้าหมาย
ลักษณะผู้นำที่จะสร้างลูกน้องให้เกิดพลัง
1.สื่อเป้าหมายอย่างชัดเจน  ต้องการให้ทำอะไรเพื่อให้ประสบผลสำเร็จอย่างไร
2.ดึงศักยภาพของลูกน้อง หัวหน้าต้องรู้ว่าลูกน้องแต่ละคนชำนาญด้านไหน วิเคราะห์ลูกน้องเพื่อดึงพลัง
3.ทำอะไรคิดถึงผลกระทบก่อน  เช่นจะเปลี่ยนแผนกลูกน้องต้องอธิบายสิ่งที่เขาจะได้รับ  ไม่ทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าทำผิดจึงถูกปรับเปลี่ยนงานเป็นต้น
4.เข้ากันให้ได้  หัวหน้าต้องโน้มตัวเข้าหา จับมือไว้ แล้วไปด้วยกันเสมอ ทำอะไรให้ทำไปด้วยกัน
5.ให้กำลังใจลูกน้อง ให้รางวัลลูกน้อง ชื่นชม ยกย่องอย่างเสมอภาค
6.หัวหน้าต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อจะได้คิดช่วยเหลือลูกน้องเมื่องานไม่ประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้  เปรียบเสมือนบินอยู่ที่สูงมองเห็นปัญหาที่งานไม่สำเร็จ และลงมาร่วมปฏิบัติเพื่อให้สำเร็จ ต้องลงมาคลุกกับงานด้วยถ้ามีความจำเป็นเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย ต้องทำให้เห็น
7.ให้มาก ๆ ฟังมาก ๆ   พูดดี คิดดี และทำดี อย่าลืมว่าคนอื่น ๆ แม้จะไม่สามารถจดจำคำพูด หรือการกระทำที่เราทำหรือพูดกับเขาได้ แต่เขาจดจำความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากคำพูดและการกระทำของหัวหน้าได้
8.หัวหน้าต้องจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสื่อสารที่รวดเร็ว  แก้ไขปัญหาเร็ว
9.ส่งลูกน้องไปอบรมเป็นกลุ่ม  หลีกเลี่ยงการส่งไปเพียงคนเดียวเพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด
10.ควรมีวิธีจัดการกับลูกน้องที่มีนิสัยส่วนตัวเป็นอุปสรรคในการทำงาน เช่นโทรศัพท์ส่วนตัวในเวลางานมาก หัวหน้าไม่ควรต่อว่านิสัยส่วนตัวเป็นลำดับแรก    ควรอธิบายและแจ้งวัตถุประสงค์ในการทำงานซึ่งหากลดอุปสรรคจะทำให้มีผลงานดีขึ้นเป็นต้น
11.หัวหน้าต้องควบคุมงาน  แต่การควบคุมต้องอย่าให้ลูกน้องรู้สึกถูกบีบบังคับ
นอกจากสร้างพลังจากลูกน้องแล้วยังต้องสร้างกับบุคคลรอบข้างเช่น
สร้างพลังจากหัวหน้า  ต้องเข้าใจเป้าหมายองค์กร  รู้เป้าหมายแผนก  เรียนรู้style หัวหน้า
สร้างพลังจากต่างแผนก  ต้องให้ความร่วมมือ  ไม่เข้าข้างลูกน้องตัวเองจนเกินไป
สร้างพลังจากลูกค้า รู้ความต้องการของผู้ใช้บริการ   ช่วยผู้ใช้บริการเสมอ
สร้างพลังจากครอบครัว ลดตัวตนเองลง
สร้างพลังจากบุคคลอื่น อย่าเอาเปรียบ มีความจริงใจ  พันธมิตรwin-win

5. ต้องมีการบริหารความเสี่ยง  ต้องประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในองค์กร โดยพิจารณาโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยงนั้น ๆ ว่าจะยอมรับได้หรือต้องจัดการกับความเสี่ยงนั้น ๆ เพราะความเสี่ยงนั้นอาจเกิดความเสียหายอย่างมาก เช่น  หากเกิดไฟไหม้ห้องสมุด จะมีความเสี่ยงสูงที่หนังสือจะไหม้หมด แม้โอกาสเกิดอาจมีน้อย  ผู้บริหารอาจตัดสินใจทำประกันภัย เป็นต้น
6. ต้องมีการคิดนวัตกรรม เพื่อให้ได้สินค้าและบริการใหม่  ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาทำงาน เพิ่มระดับความพึงพอใจ โดยองค์กรกระตุ้นบุคลากรในองค์กรทุกส่วนร่วมกันคิดนวัตกรรม เช่น จัดประกวดนวัตกรรม   ตัวอย่างการจัดประกวดนวัตกรรม ของบริษัทซีพีประจำแต่ละปี  มีโครงการได้รับรางวัล  ติ๋มซำ(เกี๊ยวกุ้ง) ทำไมต้องนึ่ง ทำให้บริษัทได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ , โครงการบริษัทกำจัดผี  ทำให้บริษัทได้ร่วมกับคู่ค้าผลิต mp3 ถูกลิขสิทธิ์จำหน่าย , โครงการสะดวกบุญ  มีปฏิทินทำบุญเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทำให้บริษัทเป็นองค์กรการกุศลในโลก โครงการข้าวเหนียวช่วยชาติ ทำให้ได้รูปแบบข้าวเหนียววางจำหน่ายและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น  นอกจากสร้างนวัตกรรมแล้วควรมีการประเมินผลลัพธ์ด้วย หากนวัตกรรมใดยังไม่แน่นอน เช่นยอดจำหน่ายขึ้น-ลง อาจจัดเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์เท่านั้น  นวัตกรรมคือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม
7. ต้องมีทักษะในการเจรจาต่อรอง  สถานการณ์การเจรจาต่อรองไม่ได้เกิดเฉพาะการจัดซื้อเท่านั้น แต่การเจรจาต่อรองจะเกิดได้ทุกเวลาเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง ตกลงกันไม่ได้  ผู้บริหารควรมีกรอบคิดเน้นประโยชน์มากกว่าความถูกต้อง เน้นสิทธิมากกว่าอำนาจ เช่นหากผู้ปฏิบัติงานไม่ทำงานนอกเวลาทำการในเวลาเย็น หากมีความจำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จผู้บริหารอาจต่อรองให้มาปฏิบัติงานในช่วงเช้าก่อนเวลางานเป็นต้น  ควรเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรสลับบทบาทคิดว่าหากตนอยู่ในสภาพของอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความรู้สึกดีต่อกัน ต้องสามารถควบคุมตนเอง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และทัศนคติที่ดี อดทนต่อความขัดแย้งและความคลุมเครือได้ ไม่เหนื่อย หรือเบื่อง่าย
8.ต้องมีการบริหารผลการปฏิบัติงาน  ซึ่งเป็นกระบวนการร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหาร หัวหน้า และบุคลากรแต่ละคนในการบริหาร เพื่อให้ได้ผลการปฏิบัติงานที่ตอบสนองต่อเป้าหมาย และทิศทางขององค์กร เน้นการบริหารข้อตกลง มากกว่าการบริหารโดยคำสั่ง และเน้นพันธะความรับผิดชอบร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

แหล่งที่มา:: http://lib.ku.ac.th/blog/?p=4391

หลักการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการวางแผนให้เป็นระบบ และทำงานอย่างชาญฉลาดเรียกว่า work smart ที่เป็นการทำงานโดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อทำงานให้มีคุณค่ามากที่สุด โดยมีหลักของการบริหารดังนี้
1.การบริหารเวลา
2.การบริหารงาน
3.การบริหารคน
หากประสิทธิภาพครบทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว งานจะประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
การบริหารเวลา
คือการกำหนดเวลาทำงานแต่ละอย่างแต่ละชิ้นไว้ล่วงหน้าในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนกี่โมง ตื่นแล้วทำอะไรบ้าง แล้วออกไปทำงาน มีนัดกับใครบ้างในแต่ละวัน ใช้โทรศัพท์ นานเท่าไหร่ เลิกงานทำอะไรบ้าง จัดสรรวันพักผ่อนอย่างไร ออกกำลังกายกี่โมง จนไปถึงดินเนอร์และก่อนเข้านอน ซึ่งแต่ละช่วงของแต่ละวัน ฉะนั้นต้องมีแพลนนิ่งที่ดี ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะต้องมี planning ซึ่งเป็นเหมือนปฏิทินลงบันทึกประจำวัน เพื่อเตือนความจำไว้ล่วงหน้า อันจะนำพาให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
การบริหารงาน
คือการจัดสรรความสำคัญ ลำดับเวลาของการทำงาน อันไหนควรทำก่อน อันไหนควรทำทีหลัง งานไหนควรทำเอง และอันไหนควรให้ผู้อื่นทำ และควรมอบงานให้กับใครทำ ซึ่งมี อยู่ถึง 4 ประเภทได้แก่
หลักการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
1.งานสำคัญและเร่งด่วน เป็นงานที่ควรทำด้วยตัวเอง และต้องทำทันที เพราะหากให้คนอื่นไปทำ อาจจะไม่ดีเท่า เช่นงานประชุมสัมมนา การเจรจาต่อรอง เป็นต้น
2.งานสำคัญ แต่ไม่ด่วน เราควรทำงานนี้ ซึ่งอาจจะเป็นงานที่เกี่ยวกับการวางแผนเป้าหมาย ช่วยทีมงานวางแผนการทำงาน
3.งานด่วน แต่ไม่สำคัญ งานนี้ควรมอบหน้าที่ให้คนอื่นทำ เพราะเรามีงานอีกมากมายที่ต้องกระทำเช่นการนัดหมาย งานพิมพ์ งานจัดเอกสาร การจัดเตรียมข้อมูลเป็นต้น
4.งานทั่วไป เป็นงานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ให้คนอื่นทำไปเถอะ เช่นงานทำความสะอาด เช็ดโต๊ะ ถูโต๊ะ เป็นต้น
ผู้บริหารที่ดีจะทำงานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เท่านั้น
การบริหารคน คือการสร้างสื่อสายสัมพันธ์ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
โดยธุรกิจเครือข่าย มีหลักการบริหารคนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จดังนี้
1.recruit แนะนำหรือชักชวนคนมาร่วมงานตลอดเวลา เมื่อมีโอกาส โดยทำอย่างมีระบบ และมีการตระเตรียมมาอย่างดี
2.trainning การฝึกอบรมคอร์สต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนไปถึงขั้นสูง ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นหัวใจในการบริหารคน ทำให้การทำงานของแต่ละคนมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ทีมงานแข็งแกร่ง
3.motivate การกระตุ้นให้กำลังใจ สร้างพลังในการทำงานเช่นการแข่งขันชิงรางวัลอันทรงเกียรติ การจัดโปรโมชั่นการแข่งขันไปท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นต้น
4.supervise การควบคุมดูแล การเอาใจใส่ทีมงานอย่างใกล้ชิด ด้วยจิตไมตรีและจริงใจต่อกัน

แหล่งที่มา:: http://gogo-tvi-express.blogspot.com/2009/10/blog-post_28.html

ISO 9000

ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี

การบริหารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนและงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานดังนั้นจึงต้องใช้การปกครองอย่างมีศิลปะ เพื่อให้สามารถครองใจคนและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพ ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ การดูแล การจูงใจจะต้องนำก่อนทำเป็นตัวอย่างตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ชื่นชมยินดี ประเภทของผู้นำ

ผู้นำแบบเผด็จการ เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเองถือเรื่องระเบียบวินัย กฏเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในแง่การบริหารงานทางด้านวิชาการด้านธุรกิจจะเปรียบเสมือนกิจการที่เป็นเจ้าของบุคคลเดียว ที่มีการดำเนินการและตัดสินใจเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้น

ผู้นำแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบัน ให้สิทธิ์ในการออกความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยการเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นลักษณะหนึ่งที่สังคมค่อนข้างจะยอมรับกันมากกว่าผู้นำประเภทอื่น ๆ

ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อย ๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของผู้ร่วมงานอย่างมาก ผู้นำประเภทนี้จึงมีมากมายตามแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ บางครั้งอาจมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ดีซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขยันอาจจะไม่ชอบลักษณะผู้นำประเภทนี้
ในทางปฏิบัติบางแห่งในตัวผู้นำอาจจะมีรูปแบบของการเป็นผู้นำทั้ง 2 ประเภทในคนเดียว อาจจะมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นออกมาแต่ละประเภท ซึ่งสามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลักษณะการใช้อำนาจของผู้นำแตกต่างกันออกไป เพราะในตัวผู้นำแต่ละคนมีอำนาจมีอิทธิพล สามารถดำเนินการหรือสั่งการได้ตามความเหมาะสม

การใช้อำนาจของผู้บริหารแบ่งได้ดังนี้
การใช้อำนาจเด็ดขาด อาจจะเป็นในวงการทหารหรือตำรวจ จะเห็นได้อย่างเด่นชัดซึ่งจำเป็นจะต้องมีความเด็ดขาดในการสั่งการ เพราะทหาร ตำรวจ จะต้องมีวินัยในการปกครองซึ่งกันและกัน บรรดาตำรวจที่มีอาวุธอยู่ในมือด้วยแล้ว หากขาดวินัยก็จะเสมือนกับกองโจรที่สามารถกระทำผิดได้ตลอดเวลา

การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ ผู้นำโดยทั่วไปเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทนรวมไปถึงประสบการณ์ในการบังคับบัญชาคน หากการทำงานโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป

การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ เป็นลักษณะของการใช้อำนาจวิธีการหนึ่งซึ่งใช้กันอย่างมากมาย เพราะผู้บริหารที่เปิดใจกว้างย่อมได้รับการยอมรับของผู้ร่วมงานด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสอนงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะการใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ

การใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วม บางคนอาจจะบอกว่าการใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วมถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเนื่องจากผู้บริหารเปิดใจกว้าง ผลผลิตที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่จะต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมรวมถึงลักษณะของการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ

หน้าที่ของผู้นำแบ่งออกได้ดังนี้
ลักษณะของการควบคุม คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ใครมาควบคุม แต่ในทางปฏิบัติงานแล้ว การควบคุมอยู่ห่าง ๆ จะได้ผลดีตามมาในลักษณะของการติดตามผลงานอาจจะใช้การควบคุมด้วยระบบเอกสาร ระบบของงานที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันหรือเป็นการควบคุมในระบบด้วยตัวของมันเองอย่างอัตโนมัติ

ลักษณะของการตรวจตรา เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวหรือผลการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขในเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ทันการ

ลักษณะของการประสานงาน การประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการประสานงานในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงานถือว่าเป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน

ลักษณะของการวินิจฉัยสั่งการ การสั่งการของผู้นำถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะผู้นำที่ดีจะรู้จักการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวินิจฉัยสั่งการที่ดีนั้นจะต้องมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที

ลักษณะของการโน้มน้าวให้ทำงาน ผู้นำมีหน้าที่หลักอย่างหนึ่งคือการชักชวนให้สมาชิกมีความสนใจในการปฏิบัติงานหน้าที่การงานด้วยความตั้งใจ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเต็มใจที่จะทำงานนั้น ๆ ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด

ลักษณะของการประเมินผลงาน การพิจารณาความดีความชอบตลอดระยะเวลาการทำงานของพนักงานถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีควรกระทำเป็นระยะ ๆ และสามารถแจ้งผลให้ผู้ที่ถูกประเมินได้ทราบเพื่อจะได้แก้ไขในโอกาสต่อไป หากสามารถประเมินผลงานได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลย่อมลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน

คุณสมบัติที่ดีของผู้นำ
มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีสติปัญญาดีก็เกิด

เป็นผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดีคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่นคงมีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความสนใจและใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

เป็นผู้ที่มีแรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานตรงนั้นให้เกิดความสำเร็จ

เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีผู้นำจะต้องตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดีในการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ลักษณะของผู้นำที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย

ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา

ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี

ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย
การบริหารงานในปัจจุบันนี้ผู้บริหารทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาวะการเป็นผู้นำเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะจะสามารถได้ใช้หรือพยายามชี้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานออกมาในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด พึงระลึกไว้เสมอว่าพนักงานทุกคนมีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน เป็นผู้ที่ผลักดันให้งานทุกอย่างของกิจการนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น การบริหารงานที่ดีจะต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะ ความเป็นผู้นำและเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งการดำเนินชีวิตไปพร้อม ๆ กัน


แหล่งที่มา:: http://women.sanook.com/work/www/www_28334.php

ISO 14000

การบริหารงานอย่างมีสติ

การบริหารงานอย่างมีสติ การบริหารงาน คือ การจัดการงานให้สำเร็จได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้ทรัพยากรและบริหารคนอย่างคุ้มค่า ดังนั้น การบริหารงานเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายจึงต้องใช้เทคนิค การบริหารงานอย่างมีวัตถุประสงค์ด้วยการ 1. กำหนดวัตถุประสงค์งานให้ชัดเจน 2. ชี้แจงทำความเข้าใจ งานกับทีมงาน 3. กำหนดขั้นตอน เวลา และการใช้ทรัพยากร ผลงานที่ต้องการให้ชัดเจน 4. บริหารงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ความยุ่งยาก การสื่อให้ทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์งานกับทีมงาน บางโครงการที่เป็นงานยาก เจ้าหน้าที่มีความรู้ไม่เพียงพอที่จะเข้าใจเป้าหมายงานว่าทำเพื่ออะไรหรือเจ้าก็ไม่ใส่ใจเป้าหมายวัตถุประสงค์ของงาน จำเป็นต้องชี้แจงอย่างต่อเนื่อง พากเพียรที่จะชี้แจงบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันโดยมุ่งให้งานสำเร็จ


แหล่งที่มา: http://opens.dpt.go.th/dpt_kmcenter/index.php?option=com_content&task=view&id=68&Itemid=1

ทักษะของนักบริหาร (Management Skills)

ทักษะของนักบริหาร (Management Skills)
ผู้บริหารไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด หรืออยู่ในองค์การใดก็ทําหน้าที่ในการจัดการ 4 อย่าง ได้ แก่ การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การโน้มนํา (leading/influencing) และการควบคุม (controlling) และการที่ผู้บริหารจะสามารถทําหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการได้ประสบผลสําเร็จนั้น ต้องมีทักษะที่ดีด้านการจัดการ ซึ่งทักษะสําคัญในเบื้องต้นที่ผู้บริหารควรมีอย่างน้อย 3 อย่าง ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) ทักษะด้านคน (human skills) และทักษะด้านความคิด (conceptual skills)
ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) เป็นความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรุ้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับงาน สําหรับผู้บริหารระดับสูงทักษะความสามารถนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุ้ทั่วไปของอุตสาหกรรม ขบวนการและผลิตภัณฑขององค์การ และสําหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับต้น จะเป็นทักษะความสามารถเฉพาะด้านในงานที่ทํา เช่น การเงิน ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศ การผลิต ระบบคอมพิวเตอร์ กฎหมาย การตลาด เป็นต้น ทักษะทางด้านเทคนิคมักเป็นความสามารถเกี่ยวกับตัวงาน เช่น ขบวนการหรือผลิตภัณฑ
ทักษะด้านคน (human skills) เป็นทักษะในการทําให้เกิดความประสานงานกันของกลุ่มที่ผู้บริหารนั้นรับผิดชอบ เป็นการทํางานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทัศนคติ การสื่อสาร และผลประโยชน์ของบุคคลและกลุ่ม เป็นทักษะการทํางานกับคน
ทักษะด้านความคิด (conceptual skills) เป็นความสามารถในการมององค์การในภาพรวม ผู้บริหารที่มีทักษะด้านความคิด จะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆในองค์การว่ามีผลต่อกันอย่างไร และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับปัจจัยแวดล้อมองค์การ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในส่วนหนึ่งขององค์การมีผลกระทบกับส่วนอื่นๆอย่างไร
ทักษะด้านความคิดนี้จะยิ่งมีความสําคัญมากขึ้นเมื่ออยู่ในระดับบริหารที่สูงขึ้น ขณะที่ทักษะด้านเทคนิคจะมีความสําคัญน้อยลงในระดับบริหารที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้บริหารในระดับที่สูงจะเข้ามาดูแลในรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในการผลิต และด้านเทคนิคน้อยลง แต่จะเน้นไปที่การมองภาพรวมขององค์การและทิศทางที่จะพัฒนาไปขององค์การมากกว่า ส่วนทักษะด้านคน ยังคงมีความสําคัญอย่างมากในทุกระดับของการบริหาร เพราะทุกระดับต้องเกี่ยวข้องกับคน


แหล่งที่มา:: http://www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5355384&Ntype=3