วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

6 แนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ควรมีสำหรับนักบริหาร

6 แนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ควรมีสำหรับนักบริหาร
โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)

หากคุณเป็นนักบริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน การเรียนรุ้ในเรื่องสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่การเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบข้างนั้น ก็ยังไม่อาจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จที่แท้จริง นักบริหารสมัยใหม่ที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ควรจะต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะความคิดที่เป็นเลิศด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ทักษะความคิดที่ดีที่สุดสำหรับนักบริหาร ก็คงหนีไม่พ้น ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เพื่อทำให้ตนเองเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) เพื่อจะได้ใช้ประกอบกับความรุ้ที่มี เพื่อคิดหาทางแก้ไขปัญหา และ หาแนวทางที่ดีที่สุด สำหรับองค์กรต่อไป

แนวคิดเชิงกลยุทธ์ เริ่มจากแนวคิดที่นำมาใช้ในการศึกสงคราม และ ได้นำเข้ามาสู่วงการธุรกิจ ซึ่งจะเห็นว่า แนวคิดเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ มีมาตั้งแต่อดีต ก่อนสมัย ซุนวู หรือ สามก๊ก เสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ ทางยุโรป และ อเมริกา ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม และได้รวมรวมแนวคิดเชิงกลยุทธ์ไว้มากมาย หลากหลายรูปแบบ แต่ที่น่าสนใจและสามารถนำไปต่อยอดแนวความคิดได้หลากหลาย และเป็นรูปธรรม มีอยู่ 6 แนวคิดคือ

1. ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)
 ความคิดในมุมองขององค์รวม หรือ Holistic Thinking และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking) นี้ เป็นแนวความคิดเพื่อตอบโจทย์ในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างรอบคอบ หรือ หาแนวความคิดให้ครบ ให้ถ้วนถี่ เช่น การเดินหมากรุกแต่ละครั้ง ก็ต้องคิดไปถึงการเดินต่อไปของฝั่งตรงข้ามอีกหลายช๊อตว่าเขาจะเดินได้อย่างไรบ้าง และ เขากำลังต้องการทำอะไร หรือ แม้นแต่การศึกสงครามที่ใช้กลยุทธ์ในการวางแผนการรบ อย่างปรัชญาแบบตะวันออก ตำราพิชัยสงคราม (The Art of War) ของซุนวู เมื่อกว่า 2000 ปีมา ซึ่งได้นำมาใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะ การทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนการทำสงคราม เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อเอาชนะคู่แข่งให้ได้

2. การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking)
 "องค์กรที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็เปรียบเสมือนองค์กรที่กำลังจะตาย" คำกล่าวนี้ทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงขององค์กรในเรื่องต่างๆ ทั้งในการทำงานหรือในเชิงธุรกิจ ต้องมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดหรือ หรือ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หรือ แม้นแต่การเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงต่างๆจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีแนวคิด การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเชิงกลยุทธ์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking) ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจุบันให้เหมาะกับอนาคต ทั้งนี้ การมีวิสัยทัศน์ (Vision Shift) ว่าเราต้องการที่จะอยู่ในตำแหน่งใดให้ถูกต้องเหมาะสม การดำเนินการจัดการ (management Shift) วางแผน กำหนดทิศทางขององค์กร (Direction Shift) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีศักยภาพทางด้านความคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อจัดทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เปลี่ยนแปลงองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง และ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะกับอนาคต (Corporate Culture Shift) ไปพร้อมๆกัน

3. การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission)
 องค์กรสมัยใหม่ (Modern Organization) เน้นหนักทางด้านการกำหนด วิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission) ทั้งนี้ มีผุ้บริหารน้อยคนนัก ที่จะเข้าใจคำสองคำนี้ได้อย่างถ่องแท้ และ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มาจากผู้บริหารที่ไม่มีองค์ความคิด (Visionary Thinking) ก็จะกำหนดวิสัยทัศน์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น ผู้บริหารที่จะมีวิสัยทัศน์ และ สามารถกำหนดพันธกิจ ได้เหมาะสม จึงต้องมีความสามารถทางด้าน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ทั้ง สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อองค์กร เพื่อกำหนดวิสัยทัศนื และ สภาพแวดล้อมภายใน เพื่อกำหนดพันธกิจ ให้เหมาะสมเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

4. การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)
 นักบริหารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือ นวัตกรรม ย่อมใส่ใจและให้ความสำคัญต่อ Strategic Innovation หรือ นวัตกรรมทางกลยุทธ์มากขึ้น ทั้งนี้ เพราะ หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการพัฒนาเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในมุมมองเดียวกัน หากองค์กรทั่วไป มองว่า การสร้างให้ผู้บริหารของตนนั้น มีมุมมองในเช้งบูรณาการ และ การคิดนอกกรอบ ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังเช่น องค์กรเก่าๆที่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ คอมพิวเตอร์ในสมัย 10-15 ปีที่ผ่านมา แต่องค์กรที่ล้มหายตายจากไป ก็จะมีมุมว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟืย เสียเงินเปล่า เป็นต้น ทั้งนี้ การสร้างความคิดที่เรียกว่า Strategic Innovation Thinking จะเป็นการสร้างมุมมองในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ เทคนิคการพัฒนาเพื่อให้แตกต่าง (Creative Thinking
 & Innovation Thinking) รวมไปถึง การคิดแบบ Blue Ocean เพื่อหาหนทางในการตลาดแบบใหม่ๆ ที่ไม่แข่งขันกันมากเกินไป

5. การวางแผนทางเลือก (Scenario Planning) และ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
 เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน ธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับความผันผวนที่เกิดขึ้น ทั้งจาก สังคม เศรษฐกิจ คู่แข่ง รวมทั้งความต้องการของลูกค้า การวางแผนขององค์กรต่างๆ จึงต้องพึ่งนักบริหารที่มีมุมมองแนวคิดในเชิงความเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Future Thinking) และ จัดทำแผนทางเลือก (Scenario Planning) ที่หลากหลายเพื่อมารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆกัน ทั้งนี้
ภายใต้ภาวะความผันผวนของสภาพแวดล้อมปัจจุบัน การบริหารแผนงานต่างๆ จึงต้องเน้นการมองถึงอนาคตอยู่ตลอดเวลา (Future
Thinking) และในเชิงการคิดเชิงกลยุทธ์นั้น ในการสร้างแผนทางเลือกต่างๆสำหรับอนาคต( Scenario Planning ) จึงเป็นรูปแบบแนวคิด
 เชิงกลยุทธ์อีกแบบหนึ่ง ที่หลายๆ องค์กรชั้นนำได้หยิบเครื่องมือนี้มาใช้ประยุกต์ต่อ การสร้างแผนเพื่อตอบสนองกับ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ถึง
 - การคิดเชิงกลยุทธ์ในการมองอนาคต
 - การสร้างทางเลือกเชิงกลยุทธ์จากวิธี Scenario
 - เทคนิคการสร้างแผนกลยุทธ์ด้วยการสร้างภาพในอนาคต

6. Game Theory
 Game Theory ของ John Nash เป็นวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับรางวัลโนเบล ถึง 2 ครั้ง หลักการแนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่คำนึงถีง บุคคล ส่วนได้ ส่วนเสีย ผลกระทบอื่นๆ เพื่อมองให้เห็นถึงความเป็นจริง ในความต้องการ และ ความเป็นไป เช่น ความต้องการของลูกค้า การทำตัวเป็นลูกค้า ประเมินความต้องการของทั้งสองฝ่าย เพื่อที่จะหาจุดที่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นักบริหาร จำเป็นที่จะต้องสร้างให้มีขึ้นในแนวความคิดของตนเองทั้งสิ้น เพื่อใช้ทั้งในการ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ ทั้งตัวเอง และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทราบว่า เราควรที่จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดกลับเข้ามา

ทฤษฎีเกม แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

Zero Sum Game - มุมมองของความคิด มีคนได้ ก็มีคนเสีย หรือ มากที่สุดก็เสมอกัน เช่น การเล่นฟุตบอล จะมีทีมใดทีมหนึ่งที่จะชนะ เมื่อมีคนชนะ ก็จะมีคนแพ้ และที่สำคัญ ไม่มีใครที่อยากเป็นคนพ่ายแพ้ ดังนั้น ทุกคนจึงพยายามหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ เพื่อให้เป็นฝ่ายชนะ
ความหมายในดิกชันนารี ให้ความหมายของ Zero-sum game ไว้ว่า หมายถึง สถานการณ์ที่สองฝ่ายแข่งขันกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะ อีกฝ่ายก็จะสูญเสีย หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อเราเป็นฝ่ายได้ อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายเสีย โดยสิ่งสำคัญคือจำนวน (เงินหรือผลประโยชน์) ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับนั้นจะเทียบเท่ากับจำนวนที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสียไป (อาจจะไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าเป็นชัยชนะบนความสูญเสียของคนอื่น) ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Last man standing game

นักบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ดี จะพยายามหลีกเลี่ยง Zero Sum Game เพราะอาจจะส่งผลเสียในอนาคต ยกเว้น เขาเชื่อมั่นว่าตนเองจะเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอน หรือ เขาไม่มีหนทางอื่นๆที่จะเลือกอีกแล้ว ถึงได้เข้าไปเล่นใน Zero Sum Game (Win - Lose)

Negative Sum Game - หากมีเกมใดที่จะเข้าไปแล้วทำให้ผู้เล่นเสียผลประโยชน์ หรือ ใครก็ตามเข้ามาในเกมนี้ ก็จะเสียหาย ผู้เล่นที่เข้าเล่นในเกมส์นี้เหมือนคนบ้า ที่จะนำทั้งตัวเองและผู้เล่นอีกฝ่ายไปสู่การสูญเสีย ไม่มีใครได้ประโยชน์ ทุกคนเสียประโยชน์เท่ากัน เช่น การใช้สงครามราคา ที่ผู้ค้าแต่ละรายพยายามลดราคาลงให้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อหวังให้ยอดการจำหน่ายสูงขึ้น จนผู้ค้าในตลาดทั้งหมดต้องลดราคาลงตาม สถานการณ์แบบนี้ มีแต่สูญเสีย แข่งขันกัน ซึ่งถ้ามองในมุมของผู้ขาย ก็จะพบว่า ต่างฝ่ายต่างขายตัดราคา เพื่อพยายามยึดครองลูกค้าให้มากที่สุด แต่ไม่ได้คำนึงถึงกำไร-ขาดทุน จนบางครั้งขายขาดทุนไปจำนวนมาก เพื่อเอาชนะอีกฝ่าย และหากชนะ แต่ลูกค้าก็อยากที่จะได้ราคาถูกเช่นเดิม อาจจะหาคู่แข่งรายใหม่มาเป็นเพื่อนเล่นกับเราได้ ดังนั้น เกมที่เล่นแล้วมีแต่เสีย นักบริหารเชิงกลยุทธ์จะหลีกเลี่ยงเกมเหล่านี้ (Lose - Lose)

Positive Sum Game - เป็นเกมที่ผู้เล่นทุกคนได้ผลประโยชน์ จะมากหรือน้อยก็ยังได้ผลประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ราคาน้ำมัน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันยอมที่จะฮั้วกำลังการผลิตไม่ให้เกินโควต้าของแต่ละประเทศเพื่อควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก มากกว่าที่จะเร่งกำลังการผลิตของตัวเองให้มากที่สุด เพราะการกระทำเช่นนั้น แม้ว่าตนเองจะขายน้ำมันได้มากขึ้น แต่ประเทศอื่นก็จะทำตามและส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจจะลดลง ผู้ชนะในเกมส์คือประเทศที่มีน้ำมันเหลืออยู่เป็นประเทศสุดท้ายที่อาจจะกลายเป็นประเทศที่ขายน้ำมันเป็นเจ้าสุดท้ายของโลก ดังนั้นทุกประเทศที่ผลิตน้ำมันจึงรวมหัวกันกำหนดโควต้าเพื่อควบคุมราคาและยอมรับผลประโยชน์ที่แน่นอนแต่ไม่ได้มากที่สุดของแต่ละประเทศ เป็นต้น

นักบริหารเชิงกลยุทธ์ จะพยายามเล่นเกมนี้มากที่สุด เพื่อที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน แบบ Win-Win แต่ทั้งนี้ คนที่ฉลาดกว่า และ มองเห็นลู่ทางที่ดีกว่า ก็จะได้รับผลประโยชน์จากเกมนี้มากกว่าอยู่ดี


แหล่งที่มา::http://wbjoong.exteen.com/20100812/entry-1

"ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ" นักบริหารมือทอง ฟื้น 2 พันบริษัท

มุมสำหรับนักบริหาร ที่มองหาแนวทาง การบริหารงาน และการจัดองค์กร แนะแนวคิดด้านบริหารจัดการใหม่ๆ ที่กำลังได้รับ ความสนใจ จากนักบริหาร และในแวดวง การพัฒนาบุคลากร
จากสมุดบันทึกกว่า 70 เล่มที่ถูกถ่ายทอดเป็นหนังสือ "จากสมุดบันทึกของผม" หรือ President ’s Note รวบรวมแนวคิด 142 ข้อจากประสบการณ์บริหารธุรกิจ

สามารถแก้ไขวิกฤติของบริษัทกว่า 2,000 แห่ง ไม่เพียงได้อ่าน ยิ่งมีโอกาสได้พูดคุยกับเจ้าของประสบการณ์ ยิ่งทึ่งในแนวคิดของชายมากประสบการณ์ผู้นี้
ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ นักบริหารมือทองจากเมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันนั่งเก้าอี้ CEO และผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยศักยภาพบริษัท และยังเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจนานาชาติ มีประสบการณ์การทำงานกว่า 40 ปี ถือเป็นสุดยอดนักบริหารที่เฉียบคมและเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูกิจการ ทำให้สามารถกอบกู้กิจการบริษัทต่างๆ ที่กำลังจะล้มละลายให้สามารถปลดหนี้และกลับมีกำไรได้อีกครั้ง
“ผมใช้เวลาหลังเลิกงาน เริ่มเขียนบันทึกเกี่ยวกับการทำงานตั้งแต่อายุ 27 ปี ทำมาแล้วถึง 45 ปี โดยส่วนใหญ่จะเลือกจดบันทึกในเรื่องธุรกิจ ทำให้มีสมุดบันทึกมากถึง 70 เล่มแล้วตอนนี้ และเห็นว่ามีหลายเรื่องในสมุดบันทึกที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารเลยอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์และแนวคิด กลายมาเป็นหนังสือจำนวน 7 เล่ม โดยเล่มนี้เป็นเล่มที่ 3 ซึ่งนำมาแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยครั้งแรก”
เขาอธิบายถึงเนื้อหาในหนังสือว่า ผลงานและแนวคิดทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถูกนำมากลั่นกรองเป็น "ทฤษฎี" ในการบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบของตัวเขาเอง
โดยมีหลักการง่ายๆ คือ ทำอย่างไรจึงจะให้บริษัทนั้นๆ สามารถ "สร้างพลัง" เพื่อดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ
แม้แนวคิดของเขาดูไม่ต่างจากแนวคิดในการบริหารองค์กรทั่วไป แต่เขาบอกว่า "ไม่ใช่เรื่องง่าย" ที่จะทำได้อย่างที่บอก โดยเขามองว่า การสร้างพลังต้องเกิดจากการสร้างสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ดี ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของคนในองค์กรนั้นๆ และถือเป็นแนวทางแรกสุด ไม่ว่าจะฟื้นฟูกิจการใดๆ ก็ตาม
นอกจากเรื่องของสภาวะแวดล้อมในการทำงานแล้ว ทฤษฎีของเขายังกลั่นกรองแนวคิดเหลือ 142 ข้อเพื่อทำให้ผู้บริหารและบุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้ได้ง่าย กระชับ และรวดเร็ว จนหนังสือติดอันดับ Best seller ทำยอดขายมากที่สุดในญี่ปุ่น
โดยในแนวคิดจำนวน 142 ข้อนี้ยังถูกนำมาทำให้กระชับลงอีกเป็น 3 ข้อใหญ่ ได้แก่
ข้อแรก ศักยภาพในการบริหารองค์กร หมายถึงทำอย่างไรผู้บริหารจึงจะมีศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อองค์กรมากที่สุด ที่สำคัญองค์กรจะรอดหรือไม่รอดขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้บริหาร
ข้อที่สอง ความมีเอกภาพขององค์กรนั้นๆ สะท้อนให้เห็นจากการแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ เช่น สินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่ สินค้านั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งพนักงานมีความรู้-ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
โดยเขาอธิบายให้ฟังว่า ถ้าคนในองค์กรมีความคิดที่มีเอกภาพไปในแนวทางเดียวกันกับองค์กรแล้ว ผลงานหรือสินค้านั้นๆ ก็จะถูกพัฒนาออกมาได้อย่างมีคุณภาพเช่นกัน
และข้อที่สาม ทำอย่างไรจึงจะทำให้องค์กรอยู่รอดได้ โดยต้องอยู่รอดอย่างมีความเสี่ยง "น้อย" ที่สุด
"ถ้าทำได้ตาม 3 ข้อนี้ รับรองว่าองค์กรจะไม่ขาดทุน หรือล้มละลาย โดยเขาเองกล้าการันตีจากประสบการณ์ที่เขาเข้าไปช่วยให้แนวคิดในการบริหารงานกับบริษัทกว่า 2,000 แห่งให้กลับมามีตัวเลขผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น"
เขายังบอกด้วยว่า ประสบการณ์ในการฟื้นฟูกิจการกว่า 2,000 บริษัทในญี่ปุ่น ไม่มีบริษัทใดที่เลือกใช้วิธี "ปลดพนักงาน" แม้แต่บริษัทเดียว
"โดยส่วนตัวผมเกลียดวิธีปลดพนักงานมาก การบริหารงานผิดพลาดน่าจะเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบมากกว่าการปลดพนักงานซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ"

ฮาเซงาวะ ยังเล่าถึงประสบการณ์ที่เขาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูกิจการว่า อย่างตอนที่บริษัทนิคอนรวมตัวกับบริษัทเอซิรอล ผู้ผลิตเลนส์ของฝรั่งเศส เขาเข้ามาช่วยตั้งแต่การบริหารจัดการร่วม ไปจนถึงการก่อตั้งบริษัทร่วม จนสามารถฟื้นฟูบริษัทให้กลับมามีกำไรจากการขายในปีแรก พอปีที่สองก็เริ่มมีกำไรจากการบริหารงานจนสามารถจ่ายเงินปันผลได้ ปีที่สามสามารถปลดหนี้ได้

เขายังบอกด้วยว่า การบริหารงานของบริษัทในขณะนี้ "สุ่มเสี่ยง" ต่อการบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดทุน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีบริษัทลูกกระจายอยู่ทั่วโลก เพราะอาจลืมหรือไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการดึงศักยภาพของพนักงานออกมาใช้อย่างเต็มที่

"ผมอยากให้ทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ของผม เพราะเชื่อว่าอย่างน้อยคุณจะได้แง่คิดจากประสบการณ์การทำงานของผมเพื่อนำไปใช้กับการทำงาน และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริหารและบุคคลทั่วไป"

ฮาเซงาวะ บอกว่า หลายบริษัทในญี่ปุ่นถึงขนาดทำเป็นป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอวิธีคิดของเขาแปะไว้ในบริษัทเพื่อให้พนักงานทุกคนได้อ่าน นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารหลายคนที่นำเอาแนวคิดของเขาไปใช้แล้วประสบความสำเร็จและเขียนจดหมายมาขอบคุณ

นักบริหารอย่างเขายังมอง "ความแตกต่าง" ระหว่างบริษัทสัญชาติตะวันตก กับบริษัทสัญชาติเอเชียว่า มีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของสปิริตในการทำงาน เช่น การปลดพนักงานบริษัทในยุโรปหรืออเมริกามักจะเลือกใช้วิธีนี้ก่อน ต่างจากบริษัทในเอเชียที่มักจะไม่ค่อยทำกัน ทำให้บริษัทมีความเป็นเอกภาพค่อนข้างสูง

ในวัย 71 ปีของเขา ถือว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากมายหลากหลาย และเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการทำงานเขาบอกว่า ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิตได้นั้น ต้องเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ การมองอดีต ทำให้รับรู้ปัจจุบัน และทำให้เรามองเห็นอนาคต นี่คือส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้เขาประสบความสำเร็จ

ทว่า สิ่งที่จะขาดไม่ได้สำหรับผู้ที่จะประสบความสำเร็จคือ ความจริงใจ และความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำธุรกิจ อีกสิ่งที่สำคัญคือ


แหล่งที่มา::http://www.nationejobs.com/content/manage/concept/template.php?conno=1079

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

นักบริหารกับความสำเร็จ

การบริหารงานตามแนวคิดในยุคปัจจุบัน    ความสำเร็จสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ในหน่วยงานขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเหมาะสม  มีการบริหารงานตามแนวความคิดของกลุ่มมนุษยสัมพันธ์เป็นพื้นฐาน หน่วยงานหลายหน่วยที่ดูเหมือนว่าประสบความสำเร็จเมื่อมองจากภายนอก  แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิด  จะเห็นได้ว่าแท้จริงยังจะสามารถพัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกมากกว่านี้ถ้าได้นักบริหารที่ดีมีคุณภาพ  และความสำเร็จที่มองเห็นได้ก็เป็นเพียงชั่วคราว  เพราะได้ก่อให้เกิดปัญหาสะสมไว้รอวันที่จะปะทุออกมาในระยะยาว
                ปัญหาความมีประสิทธิภาพการบริหารงานในระบบราชการยังขาดมาตรฐานที่ใช้ในการชี้วัด  ทำให้หลายหน่วยงานสูญเสียโอกาสและเวลา  เพราะนักบริหารที่รับผิดชอบมิได้มุ่งมั่น  ปฏิบัติงานตามหน้าที่ไปเรื่อยๆ และปลอดภัยไว้ก่อน  เปรียบเสมือนกับการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ  ซึ่งแตกต่างจากนักบริหารในระบบธุรกิจที่เล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน  มุ่งมั่นที่จะได้ชัยชนะ  และสนุกกับเกมส์อยู่ตลอดเวลา   ด้วยเหตุนี้เองที่นักบริหารในระบบธุรกิจจะต้องเป็นผู้มีประสิทธิผลสูง  และเข้าใจหัวใจสำคัญของความสำเร็จว่าต้องเริ่มต้นที่คน  ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน  เพราะในระบบราชการยังยึดติดกับการใช้อำนาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน
                จากแนวความคิดที่มีตัวอย่างให้เห็นมากมายในระบบราชการ  ทำให้นักบริหารประเมินค่าตัวเองผิด  มองข้ามการพัฒนาปรับปรุงตนเอง  ปฏิบัติตามกรอบความคิดและอุปนิสัยเดิมๆ ที่มีอยู่  เพราะมีความเชื่อว่าเท่านี้ก็เพียงพอในการบริหารงานแล้ว  แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงของการบริหารงาน  มีปัจจัยของความสำเร็จหลายประการ  และสิ่งที่ถูกมองข้ามอยู่เสมอก็คือ สิ่งที่อยู่ภายในของนักบริหารซึ่งดูเสมือนว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ยิ่งใหญ่มหาศาล  เพราะส่งผลทางด้านจิตใจกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมาก  ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจพอสรุปได้ดังนี้
               1.  ความเป็นผู้นำ      นักบริหารกับความเป็นผู้นำต้องมาเป็นอันดับแรก  ซึ่งจะต้องกล้าคิด  กล้าทำ  กล้าตัดสินใจ  และกล้าที่จะรับผิดชอบ  พร้อมที่จะนำหน่วยงานก้าวไปข้างหน้า  แสวงหาความท้าทาย  เมื่อมีปัญหาหรือเกิดสถานการณ์ยุ่งยาก  นักบริหารจะต้องเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหากับเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด  มิใช่ทำตัวอยู่เหนือปัญหาและเอาตัวรอด
                 2.  ความรู้ความสามารถและปฏิภาณ       เป็นตัวชี้วัดศักยภาพของนักบริหารได้ค่อนข้างชัดเจน  เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ขอคำปรึกษา  ขอคำแนะนำ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา  หรือไม่เมื่อผู้บริหารนั่งเป็นประธานในที่ประชุม  เหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของผู้บริหาร  การยอมรับหรือไม่ยอมรับก็จะเกิดขึ้นติดตามมา  มีหลายๆ คนไขว่คว้าเพื่อก้าวขึ้นไปเป็นนักบริหาร  โดยลืมคิดไปว่าตนเองมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำงานได้หรือไม่
                 3.  วิธีการพูด      นักบริหารที่เก่งและเป็นคนดีหลายคนไม่ประสบผลสำเร็จในการบริหารงาน  เพราะเมื่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่  ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี  คำพูดที่พูดออกไปขาดความน่าเชื่อถือ  ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดจิตวิทยาการพูด  จากสุภาษิตที่ว่าพูดดีเป็นศรีแก่ปากคงจะใช้ได้ตลอดไป  โดยเฉพาะกับนักบริหารที่คำพูดทุกคำจะได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่  ได้รับการจดจำเพื่อนำไปปฏิบัติ   ดังนั้น  ผู้บริหารต้องระมัดระวังไม่พูดด้วยอารมณ์  ซึ่งคำพูดที่ก่อให้เกิดปัญหาและมีให้เห็นได้บ่อยครั้ง  ได้แก่ลักษณะการพูดต่อไปนี้  พูดแบบคนบ้าอำนาจ  พูดด้วยคำหยาบ  พูดแบบประจานและดูถูกทับถม  พูดให้ร้าย  พูดอวดเก่ง อวดมี และอวดรวย  พูดแล้วตนเองไม่ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง  เหล่านี้มีแต่สร้างความไม่สบายใจให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งนั้น
                 4.  ความจริงใจ      นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะนำไปสู่แรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่เกิดความทุ่มเทร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่  เพราะเมื่อทุกคนมองออกถึงความจริงใจของผู้บริหารก็จะเกิดความรักความศรัทธา  เพราะฉะนั้น  การทำงานอยู่ร่วมกันถ้าเพื่อเพียงแต่ทำไปโดยหน้าที่หรือเพื่อผลประโยชน์เท่านั้น  ความจริงใจก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้  ดังนั้น  การที่คาดหวังให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นไปได้ยาก  อีกทั้ง ถ้าขาดความจริงใจซึ่งกันและกันจะเป็นจุดเปราะบาง  ที่จะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในหน่วยงานตามมาได้ง่าย
                 5.  ความมีเสน่ห์      จากคำพูดที่ว่าการเริ่มต้นดีก็ได้เปรียบไปแล้วครึ่งหนึ่งนั้น  เปรียบเสมือนกับผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดี  หน้าตาดี  พูดจาไพเราะ  แต่งกายสะอาดเรียบร้อย  มีมารยาทดี และมีมนุษยสัมพันธ์ดี เหล่านี้ก็ชนะใจเจ้าหน้าที่ไปบ้างแล้ว  ดังเช่นกับคนที่มีภรรยาสวยก็มีความภาคภูมิใจและอยากจะโชว์  ฉันใดก็ฉันนั้นกับผู้บริหารของหน่วยงานเช่นกัน
                แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารงานเป็นศาสตร์ที่ไม่รู้จบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความเป็นมนุษย์  ซึ่งได้ถูกบรรจุสิ่งต่างๆ ไว้มากมายภายในตัว    ดังที่พูดกันว่า      สิ่งที่อยู่ข้างหลังเรา  และสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเราไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก  เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ภายในตัวเรา      ดังนั้น  นักบริหารควรย้อนกลับมามองตัวเอง  และยอมรับความจริง  มุ่งมั่นที่จะยกระดับให้เราเป็นนักบริหารมืออาชีพทันยุคปัจจุบัน
แหล่งที่มา :: http://skn-rsc.ricethailand.go.th/success.htm

ทักษะผู้บริหาร

ทักษะผู้บริหาร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
http://www.drsuthichai.com
เมื่อกล่าวคำว่า “ ผู้บริหาร ” มีความสำคัญมากกับการเจริญก้าวหน้าและความอยู่รอดขององค์กร ผู้บริหาร มักเป็น กลุ่มคนหรือคน ที่มีหน้าที่มอบหมายงาน สั่งการ ให้คุณให้โทษ อีกทั้งต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลงานให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ซึ่ง การเป็นผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีทักษะ มีศิลปะ ในการทำงาน เนื่องจากภาระหน้าที่ของผู้บริหารมีมากมาย เช่น ต้องดูแลการทำงานของพนักงาน , ต้องค่อยแนะนำอบรมสั่งสอนลูกน้อง , บางครั้งก็ต้องดุด่าหรือลงโทษลูกน้อง ฯลฯ
สำหรับทักษะในการบริหารงานนั้น มีนักวิชาการ ครู อาจารย์ พูดกันมามากมายซึ่งคงหนีไม่พ้นในเรื่องของ 1.เก่งงาน 2.เก่งคน 3.เก่งคิด 4.เก่งดำเนินชีวิต
1.เก่งงาน ผู้บริหารที่ดีต้องเป็นบุคคลที่ทำงานเก่ง มีการเรียนรู้และพัฒนาการทำงานของตนเองตลอดเวลา อีกทั้งต้องผ่านประสบการณ์ในการทำงานมานานพอสมควร ซึ่งการเป็นผู้บริหารที่ดีจะต้องเป็นคนที่สอนงานลูกน้องได้ เมื่อลูกน้องเกิดปัญหาในการทำงาน ฉะนั้นหากผู้บริหารทำงานไม่เป็นหรือไม่เคยผ่านงานด้านนั้นๆ มาเลย ผู้บริหารผู้นั้นคงไม่สามารถอธิบายหรือสอนลูกน้องให้เข้าใจในงานได้
2.เก่งคน เนื่องจากการทำงานของผู้บริหารจะต้องทำงานเกี่ยวกับคน กล่าวคือต้องดูแลลูกน้อง อีกทั้งต้องรับฟังคำสั่งของเจ้านาย ดังนั้นศิลปะในการทำงานร่วมกันกับคน จึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการเป็นนักบริหารที่ดี เช่น ต้องเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ ต้องเป็นนักสื่อสาร ต้องเป็นครูหรือแบบอย่างที่ดีของลูกน้อง ต้องเป็นคนที่รู้จักวางตน ต้องเป็นคนที่รู้จักมารยาทของสังคม ฯลฯ ดังนั้นการทำงานเก่งอย่างเดียว ก็ไม่สามารถผลักดันให้ผู้บริหารก้าวสู่ตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น แต่การรวมจิตใจคนหรือการเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กรจะทำให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในสังคมในองค์กรได้มากกว่าการทำงานเก่ง
3.เก่งคิด งานของผู้บริหารจำเป็นอย่างมากจะต้องใช้ความคิดโดยเฉพาะงานของผู้บริหารระดับสูง ยิ่งมีความจำเป็นจะต้องใช้ความคิดที่มากยิ่งขึ้น เช่น ผู้บริหารจะคิดถึงเรื่องของกำไรขาดทุนขององค์กร ผู้บริหารจะต้องคิดเรื่องของการพัฒนางานอยู่เสมอ ผู้บริหารที่ดีเมื่อเกิดปัญหาจะต้องใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหานั้นๆ ผู้บริหารที่ดีต้องใช้ความคิดในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆอยู่เสมอ
4.เก่งดำเนินชีวิต บางคนเป็นผู้บริหารที่เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด แต่ขาดทักษะในการดำเนินชีวิต ก็ทำให้อายุขัยของตนเองสั้นลงเหมือนกัน ดังนั้นทักษะในการดำเนินชีวิตจึงมีความสำคัญพอๆกับทักษะในการทำงาน การเป็นผู้บริหารที่ดีควรแบ่งเวลา สำหรับดูแลสุขภาพร่างกายของตน ผู้บริหารที่ดีควรแบ่งเวลาสำหรับออกงานสังคม ผู้บริหารที่ดีต้องแบ่งเวลาสำหรับการดูแลครอบครัว อีกทั้งต้องแบ่งเวลาสำหรับพักผ่อน นั่งสมาธิ เพื่อผ่อนคลายความเครียดที่เกิดจากการสะสมของการทำงาน
ทั้ง 4 ข้อข้างต้นดังกล่าวคือทักษะของผู้บริหาร
สำหรับในยุคปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าผู้บริหารต้องทำงานหนักกว่าในอดีต ผู้บริหารจะต้องพัฒนาตนเองหลายด้านกว่าในอดีต เนื่องจากเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆตลอดเวลา ผู้บริหารในยุคปัจจุบันจะต้องเรียนรู้งานด้านประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ตนเองและองค์กร ผู้บริหารที่ดีต้องเป็นคนที่ต้องอดทนต้องแรงเสียดทานซึ่งมีมากกว่าในอดีต

แหล่งที่มา::http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mrmarkandtony&month=09-2011&date=30&group=1&gblog=68

วิธีสู่ความสำเร็จของผู้บริหารระดับกลาง 10 ประการ


เรามักได้ยินเสมอ ๆ ว่าการเป็นคนกลางมักพบกับความลำบากใจ การเป็น ผู้บริหาร ระดับกลางมีบทบาทในการนำนโยบายและวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารระดับสูงมาปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ในขณะเดียวกันต้องรู้จักบริหารจัดการลูกน้องในระดับปฏิบัติการให้ดำเนินการตามทิศทางที่กำหนด ผู้บริหารระดับกลางจึงเปรียบเสมือนคนกลางระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับพนักงานระดับปฏิบัติการ หากผู้บริหารระดับกลางมีความพร้อมจะนำไปสู่การบริหารลูกน้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที ผู้บริหารระดับกลางจึงมีความสำคัญอย่างมากในการผลักดันองค์กรให้รุดหน้า ในภาวะการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงอย่างในปัจจุบัน ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีคุณลักษณะดังนี้


1.
จัดระเบียบองค์กรให้พร้อมและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ รวมทั้งมีความว่องไวในการบริหารงาน สื่อสาร สั่งการให้ชัดเจน และติดตามความสำเร็จของการทำงานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการสื่อสาร ทำให้การงานเป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น และมุ่งสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
2.
มุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างหนัก เพื่อให้เกิดการยอมรับที่ดี ตลอดจนเป็นต้นแบบการปฏิบัติงานแก่ทีมงานได้เอาเป็นแบบอย่าง
3.
มุ่งเน้นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร ต้องเลือกตัดสินใจดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปสู่ชัยชนะขององค์กร โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
4.
เตรียมพร้อมทำการบ้านก่อนเข้าประชุม หรือเจรจากับผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสิน ควรศึกษาให้ดีเสียก่อน ว่าเขามีความคิดเห็นหรือความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร เพื่อดำเนินการให้ได้ถูกทิศทางและไม่เสียเวลา
5.
รู้จักตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ทีมงานในการแสวงหาคำตอบให้กับเรื่องต่างๆ ที่ซ่อนเร้นหรือยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน
6.
รู้จักวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา รู้จักวิเคราะห์ว่าอะไรที่เป็นปัญหาขัดขวางกระบวนการทำงาน พยายามทำความเข้าใจสาเหตุและหาหนทางแก้ไข
7.
มองโลกในแง่ดีและรู้จักปล่อยวาง บางครั้งหากอุปสรรคบางอย่างเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ควรจะปล่อยวาง และหันไปจัดการกับปัญหาอื่นแทน
8.
เชื่อในศักยภาพของคน ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ หากได้รับคำแนะนำที่ดีจากผู้นำ ลูกน้องจะมีกำลังใจและสามารถทำงานได้ดี
9.
รักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น หากเคยมีเรื่องผิดใจ หรือความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนักกับลูกน้องกับเพื่อนร่วมงาน ควรรีบปรับความเข้าใจ หากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่องานในระยะยาว
10.
เป็นผู้ที่ปรารถนาความสำเร็จ และมีความสุขเมื่องานที่ทำนั้นสำเร็จลุล่วง ผู้บริหารที่ดีต้องมีไฟอยู่ตลอดเวลา ต้องมองไปข้างหน้า และหาแนวทางก้าวสู่ความสำเร็จที่ปรารถนาให้ได้

แหล่งที่มา::http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/general_editor37.htm?ID=679

บันไดสู่ความสำเร็จทางการเงิน

แนวทางสู่ความสำเร็จ

บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ

คิดแบบนักบริหาร

ฐานความคิดผู้นำกิจกรรมนิสิตก่อนก้าวสู่การบริหารจัดการ 1. พัฒนาความมั่นใจในตนเอง
 - ซึ่งต้องมีอยู่ทั้งในใจผู้นำและแสดงออกทางกริยาภายนอกให้ผู้คนได้เห็น
 2. พยายามควบคุมทัศนคติของตนเองให้ได้
 - การควบคุมทัศนคติของตนเอง คือ การเลือกแนวคิดที่เหมาะสมกับสถานการณ์
 - หากควบคุมท่าทีและทัศนคติของตนเองได้ ก็เท่ากับควบคุมคนอื่นได้เช่นกัน แต่หากไม่สามารถควบคุมทัศนคติของตนเองได้ ผู้อื่นก็จะเข้ามาควบคุมให้
 - ท่าทีในการควบคุมทัศนคติ เช่น เตือนตนเองอยู่เสมอว่าจะต้องควบคุมตนเองรับรู้และควบคุมทิศทางของตนเองอยู่ตลอดเวลา
 3. พร้อมจะมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ
 ลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักบริหารที่จะประสบความสำเร็จ ต้องมีรากฐานความคิดของ "ความอดทน" "ความเพียรพยายาม" ความสามารถที่จะยืนหยัดได้ด้วยตนเอง" หรือ"ความตั้งใจจริงที่จะกระทำ"
 4. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง
 - หาอาหารสมองเพื่อเติมให้แก่ตนเองโดยตลอด
 - เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น
 - เลียนแบบผู้นำที่มีความสามารถ
 5. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสร้างสรรค์
 * จุดสำคัญที่นักบริหารต้องมี คือ มีความคิดเห็นที่ริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะมีโอกาสมากกว่าใครๆที่จะกระทำและคิดด้วยจินตนาการ
 * การมีความคิดสร้างสรรค์ มิได้มุ่งเน้นเพียงการฝันถึงประเด็นใหม่ๆ เท่านั้น
 แต่ยังหมายถึง การใช้วิธีการที่แตกต่างออกไปในการเสนอความคิดเห็นของตนเอง การจัดการกับปัญหาเก่า ๆ ด้วยวิธีใหม่
 * ผู้นำสามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์โดย เริ่มต้นจากการมีทัศนคติเชิงบวก สนับสนุนผู้อื่นให้พยายามพัฒนาความคิด อย่างไม่ท้อถอย
 ความคิดที่อันตรายที่สุดสำหรับนักบริหาร คือ ความวิตกกังวล
 เพราะฉะนั้น นักบริหารต้อง "สนุกกับการแก้ปัญหา" มากกว่า "กังวลกับปัญหา"
 - นักบริหารที่มีประสิทธิภาพ จะไม่เคยคิดพอใจ ไมว่าสิ่งต่าง ๆ จะดำเนินไปอย่างดีเพียงใดก็ตาม ต้องคิดว่าทุกสิ่งจะต้องเปลี่ยนแปลง คนที่มีความคิดริเริ่มจะไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่จะมองหาหนทางการเปลี่ยนแปลง เพราะรู้ว่าเป็นการนำมาวึ่งความก้าวหน้าและรุ่งโรจน์
" ยิ่งคุณก้าวขึ้นสูงเพียงไร ก้าวย่างของคุณจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้นเท่านั้น จึงควรจะต้องก้าวให้ช้าลง และคิดให้รอบคอบ"
 มุมมองต่อสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและอนาคต
 * อดีตที่ผ่านมา ความแน่นอนมีสูง การเปลี่ยนแปลงค่อนช้างช้า การเดินตามอดีตที่เคยเป็นมา สามารถจะทำได้และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก
* แต่จากวันนี้เป็นต้นไป เรากำลังอยู่ในโลกแห่งความไม่แน่นอน และโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะมีอัตราเร่งที่รวดเร็วและมีอยู่ตลอดเวลา นำไปสู่การเกิดสภาพแวดล้อมที่ผันผวน มี
 ความแตกต่างจากอดีตโดยสิ้นเชิง
 * ถนนสู่อนาคตต่อจากนี้ไป ไม่รู้ว่าสภาพถนนจะเป็นอย่างไร เดาได้ยาก เพราะฉะนั้นรถที่จะต้องใช้ จะต้องมีความคล่องตัว และปรับเปลี่ยนได้ในทุกสภาพถนน
 * เพราะฉะนั้น องค์กรกิจกรรมนิสิตจะต้องรู้จัก ติดตามความเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
พัฒนามุมมองแบบนักบริหาร
 - ผู้นำกิจกรรมนิสิตต้องตระหนักว่า "อนาคตแตกต่างจากอดีต"
 โอกาสที่จะกลับไปสู่สภาพเดิมเป็นไปได้ยาก ดังนั้นในหลายเรื่อง เราอาจต้องเลิกเรียนรู้ตัวแบบเก่า กระบวนทัศน์เก่า กลยุทธ์เก่า สมมุติฐานเก่า ตำรับความสำเร็จเก่า ๆ
 - ยุคใหม่ต้องการองค์กรแบบใหม่ ต้องการวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ เพื่อให้พร้อมรับมือกับสภาพการณ์ที่ "ไม่แน่นอน" และให้สอดคล้องกับ "โลกยุคข้อมูลข่าวสาร"
 - ผู้นำจึงต้องคิดว่า "เราจะไปไหนกันต่อไป" เราจำเป็นต้องมองไปข้างหน้า สแกนทัศนียภาพ เฝ้ามองการแข่งขัน วางแนวโน้มและโอกาสใหม่ ๆ กำหนดวิสัยทัศน์ มุมมอง เป้าหมายเกี่ยวกับอนาคตที่ชัดเจน ต้องสร้างความคิดของตนเองเกี่ยวกับทิศทางที่ควรจะไป และวางแนวทางในอนาคตสำหรับองค์กรของตนเอง
 - เช่นนั้น บทบาทของผู้นำกิจกรรมนิสิต จึงต้อง
 * ต้องบริหารโดยมุ่งเน้นเป้าหมายมากขึ้น ท่ามกลางสภาพการณ์ที่ไม่แน่นอน
 * ต้องสามารถสร้างทีมงานได้ ซึ่งแต่ละคนในกลุ่มต้องสามารถจัดการงานของตนเองได้
 * ต้องสื่อสารส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วและชัดเจน
 * ต้องสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในทีมได้

* ต้องมองเห็นภาพรวมในภารกิจขององค์กร
 * ต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร (Corporate Culture) เพื่อสนับสนุน

ลักษณะการคิดแบบนักบริหาร : คิดกว้าง มองใกล ใฝ่สูง มุ่งความสำเร็จ
 คิดกว้าง
 * คิดอย่างผู้ประกอบการ
 * คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก
 * คิดหลายมิติ
 * ไม่ยึดติดกรอบความคิดเก่า
 มองใกล
 * จินตนาการภาพอนาคตขององค์กร
 * พยากรณ์สภาพแวดล้อมในอนาคต เพื่อพิจารณาโอกาสและความเสี่ยง
 ใฝ่สูง
 * คิดพัฒนาสร้างสรรค์ เพื่อสร้างวันนี้ให้ดีกว่าวันวาน
 * คิดสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม
 * ตั้งมาตรฐานการดำเนินงานไว้สูง
 มุ่งความสำเร็จ
 * ยึดมั่นในวิสัยทัศน์ที่กำหนด
 * มุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้

รูปแบบและวิธีการคิดแบบนักบริหาร
 1. คิดเชิงบวก คือ วิธีคิดที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
 * มีทัศนคติสามารถมองเห็นความเป็นไปได้ (Can-do attitude)
* มองปัญหาให้เป็นโอกาส
 * ทำความยากลำบากให้เป็นบันไดของความสำเร็จ
 2. คิดมองภาพรวมการดำเนินงาน มากกว่าคิดมองแบบแยกส่วน
 * มองเห็นภาพรวมการดำเนินงานตลอดทั้งปี
 * มองเห็นแนวทางการขับเคลื่อนของโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ
 * ไม่มองเรื่องยิบย่อย แต่มองภาพความเชื่อมโยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในภาพรวม
 3. คิดแบบทวิลักษณ์
* คิดมองเรื่องใดเรื่องหนึ่งในหลาย ๆ มิติ มองทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ไม่มองมุมเดียว โดยเฉพาะในเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาและตัดสินใจ
 4. คิดเชิงกลยุทธ์ ด้วยการตอบคำถามว่า
 Where are we now ?
 What do we want to be ?
 How do we get there ?
 How do we measure progress ?
 6. คิดอย่างมีวิสัยทัศน์ คือ
 * คิดให้ไกล ไปให้ถึง คำนึงถึงความเป็นไปได้ (มองเห็นวิธีการและความเป็นไปได้ในเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้)
 7. คิดบนฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ มากกว่าใช้สามัญสำนึก (Common Sense)
 * คิดเรื่องอะไรต้องใช้ฐานข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ ประกอบการคิด (ไม่คิดคาดเดาเอาเอง)
 8. คิดแบบ End Mean คือ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนพิจารณาวิธีการ
 9. มีความเชื่อว่าหลายหัวดีกว่าหัวเดียว (สร้างการมีส่วนร่วม) รู้จักระดมความคิดที่หลากหลายเพื่อวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน เอาประเด็นการมองทั้งหมดมาดูร่วมกัน สร้างบรรยากาศร่วมกันคิด ร่วมกันทำ สร้างการมองประเด็นปัญหาให้ตรงกัน นำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
 10. รู้จักใช้ความคิดนอกกรอบ (Think out of the box) ให้หลุดพ้นจากกรอบความคิดเดิม กระบวนทัศน์เดิม
 11. รู้จักกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของผลงาน เพื่อปักธงความสำเร็จที่เราต้องผลักดันไปให้ถึง เน้นการทำงานให้ได้ผล มีประสิทธิภาพ และประหยัดสุด

แหล่งที่มา::http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Manage_Think.htm

ก้าวสู่นักบริหาร

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ศรัทธาความสำเร็จของผู้นำ

ในหลายวิกฤตการณ์ที่มีความยากยิ่งในการที่จะนำพาองค์กรหรือสถาบัน   ให้ผ่านพ้นสถานการณ์คับขัน หรือการสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร     หรือสถาบันนั้นได้ในวิกฤตการณ์และข้อจำกัดอย่างมากมายนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นให้เราได้พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง     และบางครั้งหลายคนไม่อยากเชื่อว่าเป็นความจริง และเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า "ปาฏิหารย์" แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้นมากกว่าครึ่ง  เป็นผลมาจากผู้นำยิ่งภาวะวิกฤต ที่ยุ่งยากเท่าใด     จำนวนคนหรือองค์กรหรือหมู่คณะนั้นมากมายมหาศาลเท่าใดยิ่งต้องอาศัยศักยภาพของผู้นำที่สูงสุด จนนำมาสู่คำกล่าวที่ว่า    "สถานการณ์สร้างวีระบุรุษ"
 ผู้นำที่จะเป็นวีระบุรุษหรือผู้นำแห่งความสำเร็จในวิกฤตการณ์หรือสถานการณ์ใด จะไม่ประสบความสำเร็จได้เลย     หากปราศจากความศรัทธาของบุคลากรภายใต้การนำ   ฉะนั้นศรัทธาของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานของนักบริหารจัดการทั้งหลาย      จึงเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จผู้นำนั้นได้เป็นอย่างดี
"ฝูงสัตว์ต้องต้อน" เราคงเห็นภาพโคบาลที่คอยต้อนฝูงวัว ฝูงม้า   ชาวปศุสัตว์ที่คอยไล่ต้อนฝูงแพะแกะ "ฝูงคนต้องนำ" ในความเป็นคนนั้นมีศักดิ์ศรีไม่มีใครยอมให้ใครต้อน     มีแต่ความศรัทธาต่อผู้นำเท่านั้นจึงยินยอมเดินตาม      "ศรัทธา" จึงเป็นสิ่งยอดปรารถนาที่ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ผู้จัดการหรือชื่ออื่นๆ ตามแต่จะเรียกขาน       มุ่งหวังและพยายามที่จะทำให้เกิดขึ้นต้องการและปรารถนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกทีมเพื่อนร่วมงานตลอดจนคนทั่วไป เกิดความศรัทธาต่อตน
ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าที่จะทำได้
           ศรัทธาพจนานุกรมให้ความหมายว่าความเชื่อ ความเลื่อมใส       แต่ในหลักแห่งภาวะผู้นำนั้น ศรัทธา คือ ความเชื่อที่ผู้อยู่ใต้การนำมอบให้แก่ผู้นำ     พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำสั่งหรือการชี้นำของผู้นำ      บางครั้งกระทำได้แม้สละชีวิต เช่น นักบินกามิกาเช่     ยอมตายเพื่อกองทัพญี่ปุ่น     หรือนักเลงกำลังภายในที่กล่าวว่า " นักสู้ยอมตายเพื่อผู้รู้ใจ"
 ความศรัทธาที่ผู้นำจะได้มานั้นจะเกิดขึ้นได้จากความเชื่อของผู้อยู่ใต้การนำมอบให้ผู้นำอยู่ 4 ประการ คือ
                "ความเชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ และเชื่อใจ"
                ความเชื่อทั้ง 4 ประการนี้ ผู้นำทุกคนสามารถสร้างขึ้นมา  เพื่อเพิ่มศักยภาพแห่งภาวะผู้นำของตนเองได้
                เชื่อมั่น คือ      การสร้างความมั่นใจให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตาม ให้เกิดความมั่นใจได้ว่า เราสามารถจะเป็นผู้นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ เปรียบเสมือนถ้าเราเป็นกัปตัน ก็เป็นที่มั่นใจแก่ลูกเรือว่าเราจะนำเรือลำนี้ตลอดรอดฝั่ง และกลับสู่แผ่นดินถิ่นฐานได้อย่างปลอดภัย
                ความเชื่อมั่นจะเกิดจากเกียรติประวัติของผู้นำ ชื่อเสียง    เกียรติ ภูมิ ภูมิรู้ ภูมิปัญญา อันบ่งบอกถึงความณรู้แจ้ง รู้ตริง และมีความมั่นคงในฐานะ           โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือความมั่นคงในอารมณ์    หรือที่เรียกว่าวุฒิภาวะทางอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ของผู้นำนั่นเองและบุคลิกภาพของผู้นำ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงานหรือบุคคลทั่วไปได้ด้วย
                เชื่อมือ หมายถึง นอกจากภูมิรู้ ภูมิปัญญาแล้ว        ผู้นำยังแสดงฝีมือให้ปรากฏด้วย
ประสบการณ์และความสำเร็จจากที่อื่น        ของผู้นำยังไม่มีค่าเทียบเท่าพอกับสิ่งที่ได้ทำลงมือทำให้
ผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ประจักษ์ชัดด้วยสายตาว่าผู้นำเป็นผู้ที่มีฝีมือจริง สมดังคำเล่าลือ
แค่นี้ก็เป็นความสำเร็จในการสร้างศรัทธาขั้นที่ 2 แล้ว
                ทำจริงด้วยกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวจะสร้างความเชื่อมือได้เป็นอย่างดี
               เชื่อถือ หมายถึง การสร้างความเชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป โดยได้รับความเคารพนับถือใน
คุรสมบัติความเป็นผู้นำ ไม่ใช่ด้วยวัยวุฒิหรือชาติวุฒิหรือวุฒิทางการศึกษา แต่เป็ฯความเชื่อถือที่
เกิดจากการรักษาคำพูด พูดแล้วต้องปฏิบัติได้ตามนั้น   พฤติกรรมและคำพูดต้องสอดคล้องเป็นไปในทางเดียวกัน สสัญยาแล้วต้องทำได้จริง และที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ การรักษาเวลา กำหนดนัด
หมาย และการตรงต่อเวลา เป็นการสร้างความเชื่อถือได้เป็นอย่างดี
                บทพิสูจน์ของความเชื่อถือ คือ การได้รับเครดิตพิเศษจากคนอื่นที่คบหาสมาคมด้วย
               เชื่อใจ หมายถึง การไว้วางใจต่อผู้นำ ผู้ใต้บังคับบัญชาไว้ใจผู้บังคับบัญชาว่า   ไม่เป็นผู้ผูกพยาบาทอาฆาตลูกน้อง เป็นผู้รักษาความลับได้ดี ไม่มีจิตริษยา ไม่คิดคดทรยศหักหลัง พฤติกรรมต่อหน้าและลับหลังเป็นเช่นเดียวกัน มีบุคลิกภาพที่โอ่อ่าเปิดเผย มีความสุจริตใจ เป็นที่พึ่งพาอาศัย
ของผู้ใต้บังคับบัญชาได้
                นี่คือสี่เหตุความเชื่อ เชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ เชื่อใจ อันจะนำสู่ผลคือ "ศรัทธา"
   เมื่อได้ครบทั้งสี่ความเชื่อแล้ว นั่นคือ     ความศรัทธาที่จะนำพาผู้ใต้บังคับบัญชา ฝ่าฟันอุปสรรค ขวากหนาม สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรและสถาบันได้โดยไม่ยากเย็น   แม้จะอยู่ในวิกฤตการณ์ที่ยากยิ่งสาหัสเพียงใดก็ตาม แม้จะมีทางออกที่จะพบกับความสำเร็จเพียงริบหรี่แต่ผู้นำที่ได้รับความศรัทธาจะนำพาองค์กรและหมู่คณะทะลุทะลวงไปสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างปาฏิหารย์เสมอ
  "ปาฏิหารย์มีจริงเสมอสำหรับผู้นำที่ได้รับความศรัทธา"
ความสำเร็จที่เกิดได้ในวันนี้
ย่อมอยู่ที่ศรัทธาอันยิ่งใหญ่
เชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ เชื่อใจ
ขอรับไว้ด้วยสำนึกในบุญคุณ

แหล่งที่มา:: http://www.moe.go.th/wijai/achievement%20leadership.htm

คุณลักษณะของผู้บริหาร

นักบริหารมืออาชีพได้สรุปคุณลักษณะดังนี้             

             1.  Vision   เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
             2.   Charisma   เป็นผู้มีเสน่ห์     มีแรงดึงดูด  สร้างความเชื่อให้คนเกิดความศรัทธา คล้อยตามได้
             3.  Integrity   มีความเป็นปึกแผ่น   เหนียวแน่น
             4.  Self – Less   ทำอะไรไม่นึกถึงตนเองแต่คำนึงถึงส่วนรวม
             5.  Courage       มีความกล้าหาญ
             6.  Uncompromising   ไม่ยอมอ่อนในเรื่องบางเรื่อง
             7.  High   Ground    ความมีมาตรฐานในตัวเองมีความซื่อสัตย์   และมีความโปร่งใสสูง
             8.  Listening   รู้จักฟัง
             9.  Fairness    มีความยุติธรรมเที่ยงธรรม
             10.  Sense     of   Time มีสติ   รู้ทันเหตุการณ์ว่าต้องทำอะไร
             11.  Know   Others Know   Oneself    เข้าใจคนอื่นและเข้าใจตนเอง หรือรู้เขารู้เรา
             12.  Judgment   ยุติธรรม
             13.  Inspiring    มีความมุ่งมั่น
             14.  Faith    มีความเชื่อมั่น   ศรัทธา
             15.  Institutional    มีความเป็นองค์กรนั้น
     ถ้าผู้บริหารทุกท่านมีหลักครบทั้ง   15 ประการ จะทำให้บริหารงานได้ดีเยี่ยมกว่าเดิมเพื่อความเจริญโดยส่วนรวมของทุกคน   ผู้บริหารเป็นผู้ที่จะต้องทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยอาศัยคนอื่น ผู้บริหารที่ดีควรที่จะมีคุณสมบัติของผู้นำควบคู่ไปด้วย ดังนี้
1.  มีภาวะผู้นำ   มีศิลปะในการครองใจคน สามารถจูงใจคนให้เต็มใจร่วมมือหรือให้การสนับสนุน   เป็นนักประสานความาเข้าใจของทุกฝ่าย สามารถบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคลและประสานประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้
2.  มีเมตตาธรรม   ไม่มีอคติ  หรือ ฉันทคติ  คือลำเอียงด้วยความชังหรือรัก  ไม่เอาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  การตำหนิหรือลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาต้องลงโทษด้วยเมตตา  ไม่ใช่ด้วยอารมณ์โกรธแค้นส่วนตัว  นักบริหารที่เป็นผู้นำขององค์กรยังต้องรู้จักสละประโยชน์ส่านตน  เพื่อประโยชน์ส่วนรวมต้องรู้จักแสดงน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานและลูกน้องในโอกาสอันสมควร  และสิ่งที่สมควรที่จะต้องมีอย่างยิ่งคือ  ความรู้จัดอดกลั้น  และอดทน  ทั้งทางอารมณ์และจิตใจ  สุดท้ายคือการรู้จักให้อภัย  ไม่อาฆาตแค้น  เรื่องที่แล้วก็ให้แล้วกันไป  ถ้าผู้บริหารมีเมตตาธรรมรู้จักให้อภัย  จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
3.  ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง  ในการทำงาน  ถ้ามีหลักการที่ชัดเจน  การทำงานก็จะง่าย  สะดวกเร็วขึ้น  มีความเป็นธรรม  และตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำ
4.  เป็นนักคิด  นักวิเคราะห์   นักบริหารที่ดีต้องคิดสร้างสรรค์ให้บังเกิดสิ่งที่เป็นไปได้  และ ต้องมีความสามารถในการจัดระบบความคิดให้เชื่อมโยง  มองถึงองค์กรรวมของปัญญาทั้งหมด  นอกจากการคิดอย่างมีระบบแล้วยังต้องรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ  ได้ชัดเจน  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.  มีการสร้างวิสัยทัศน์  นักบริหารที่มีความสามารถต้องมองเห็นเหตุการณ์ในอนาคตออก  และคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ  ด้วยสายตาที่กว้างไกล  จากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี  ด้วยการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  มองเห็นภาพรวมทั้งระบบ  ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์  ทันสมัย  จะช่วยกะเก็งเหตุการณ์ในอนาคตได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น  และสามารถตัดสินใจดำเนินการบริหารองค์กรให้เป็นในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมได้
6.  มีทักษะหลายด้าน  นอกจากจะเป็นนักคิด  นักวิเคราะห์  ยังต้องมีทักษะในเรื่องต่อไปนี้ 
ทักษะในการตัดสินใจ  ต้องมีการจัดการที่ดี  มีทีมงานที่แข็งแกร่ง   มีข้อมูลที่ถูกต้องมากพอและทันสมัย  รู้จักรุก  ในโอกาสและจังหวะเวลาที่ดีและเหมาะสม   รู้จักรอ  เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่สมควร
ทักษะในการวางแผน  ทั้งแผนของค์กร (แผนแม่บท)  และแผนกลยุทธ์  เป็นยุทธศาสตร์ที่จะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์  โดยกำหนดทิศทางและวิธีการทำงานไว้ล่วงหน้า  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเดินตามแนวทางทีกำหนดไว้ได้โดยสะดวก  มีการกำหนดแผนระยะสั้น  ระยะยาว  เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ในแต่ละขณะได้อย่างเหมาะสมลงตัว
ทักษะในการจัดองค์กร  กำหนดโครงสร้างขององค์กรให้มีรูปแบบเหมาะสมกับพันธกิจ   และภารกิจขององค์กร  วางตนให้เหมาะสมกับงานที่ถนัด  สร้างทีมงานที่ดี  ขจัดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานด้วยวิธีละมุนละม่อม  บางครั้งอาจต้องใช้ความเด็ดเดี่ยว  เฉียบขาด  ก็ต้องทำ
ทักษะในการแก้ไขปัญหา  พึงระลึกไว้เสมอว่า  ปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน  จึงเป็นเรื่องธรรมดา  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ดูว่าปัญหาใดเป็นปัญหาหลัก ปัญหาใดเป็นปัญหารอง  ปัญหาใดสำคัญเร่งด่วน  ที่สำคัญ  ผู้บริหารต้องไม่กระทำตัวเป็นปัญหาเสียเอง
ทักษะในการสร้างทีมงาน ต้องสามารถสร้างทีมงานที่ดี มีฝีมือให้เหมาะสมในแต่ละด้าน  จัดมือทำงานไว้เป็นสตาฟท์ (Staff)  ช่วยคิด  ช่วยกลั่นกรองงาน
7.  รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย  เพราะการมีข้อมูลที่ดี  ช่วยให้การตัดสินใจถูกแม่นยำขึ้น จึงต้องรู้ลึก  รู้รอบ  รู้กว้าง  รู้ไกล  กระตือรือร้นอยู่เสมอ  เป็นนักอ่าน  ขยันใฝ่หาความรู้  ช่างสังเกต  รู้จักฟัง
8.  รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ทันสมัย   รู้ว่าขณะนี้ตนเป็นใคร  มีบทบาทและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร  เพื่อที่จะสวมบทบาท  และแสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ไม่เข้าไปก้าวก่ายงานในหน้าที่รับผิดชอบของคนอื่น
9.  กล้าตัดสินใจ  ในหลักวิชาการบริหาร  กล่าวกันว่า  สิ่งที่ยากที่สุดของนักบริหารคือ  การตัดสินใจ  แม้จะมีข้อมูลครบถ้วนในมือแต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจ  เพราะขาดความมั่นใจ  กลัวที่จะต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น  องค์กรใดที่มีผู้บริหารแบบนี้องค์กรนั้นคงเจริญเติบโตได้ยาก  มองไม่เห็นอนาคตด้านความเจริญก้าวหน้า
10.  มียุทธวิธีและเทคนิค  กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานส่วนเทคนิคจะช่วยประหยัดเวลา  และทรัพยากรอื่น ๆ มิให้สิ้นเปลือง  เทคนิคที่ดีไม่ควรมีความสลับซับซ้อนมากเกินไป  สามารถเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้
11.  รู้จักประนีประนอมและยืดหยุ่น  จะช่วยลดความขัดแย้งและขจัดปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้มาก
12.  รู้จักการเจรจาต่อรอง  ไม่เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว  ไม่มีใครได้ทั้งหมด  และต้องไม่ใครเสียทั้งหมดต้องได้ทั้งสองฝ่าย  (Win – Win) บางครั้งต้องรู้จัก แพ้เพื่อชนะ
13.  ประสานงานเป็นและประสานประโยชน์ได้    การสร้างพันธภาพอย่างไม่เป็นทางการ  มีความสำเร็จขององค์กรอย่างสูง  ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่าย  ย่นระยะเวลา  ลดพิธีกรรมรูปแบบต่าง ๆ
14.  รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า   นับตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์  วัสดุอุปกรณ์  ทรัพย์สินอื่น ๆ รวมทั้งเวลาเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนในการทำงาน
15.  เป็นนักประชาธิปไตย  นักบริหารต้องใจกว้างพอจะยอมรับความแตกต่างทางความคิด  และต้องอยู่ท่ามกลางความแตกต่างให้ได้  พร้อมทั้งต้องพยายามประสานความค่างนั้นให้เกิดประโยชน์เชิงสร้างสรรค์
16.  กระจายอำนาจเป็น  โดยดูจากการกระจายอำนาจหน้าที่  และความรู้ผิดชอบไปสู่มือทำงานเพื่องานจะได้สำเร็จลุล่วง  เรียบร้อย  รวดเร็ว  มอบหมายงานที่มีความสำคัญให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาให้เขารู้จักผิดชอบสูงขึ้น  เปิดโอกาสให้เขาเป็นเจ้าของงานและตัดสินใจในงานชิ้นสำคัญ ๆ ให้ความรู้สึกในด้านจิตวิทยา  ให้โอกาสและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา  มีความริเริ่มสร้างสร้างในสิ่งใหม่ ๆ และเป็นประโยชน์
17.  รู้จักทำงานในเชิงรุก  มุ่งผลงานในเนื้องานเป็นหลักมากว่ารูปแบบหรือพิธีการ  เป็นฝ่ายเริ่มต้นกระทำก่อนในสิ่งที่ถูกต้อง  และจำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จ
18.  พิจารณาคนเป็น  นักบริหารต้องเชื่อในความสามารถของคนอื่นด้วย  มนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพและความสามารถในทางใดทางหนึ่งเสมอ  นักบริหารที่มีความสามารถจึงต้องมองคนให้เป็นใช้คนให้ถูก  ใช้ให้ถูกคนและถูกงาน  ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องของส่วนรวมโดยเด็ดขาดสังคมไทยมักจะแยกไม่ค่อยออก
19.  โปร่งใสและตรวจสอบได้  เป็นหนึ่งในการบริหารการจัดการที่ดี (good governance) แสดงถึงความสุจริตใจในการทำงาน  ต้องเปิดเผย  ชัดเจน  ตรงไปตรงมา  ตอบคำถามของสังคมได้
20.  รู้จักควรไม่ควร  รู้จักความพอดี  เป็นเรื่องยากที่จะบอกอย่างไรจึงพอดี  ขึ้นอยู่กับสติปัญญาวิจารณญาณและประสบการณ์ของแต่ละคน  ที่จะเรียนรู้ความพอเหมาะพอดี  ต้องรู้จักงาน  รู้จักดี   รู้จักชั่ว  แยกแยะออกได้อย่างชัดเจน
คุณสมบัติที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเป็นทั้ง ศาสตร์และศิลป์  ของผู้บริหารและผู้นำที่ต้องศึกษาเรียนรู้และพัฒนา  และปรับตัวให้เข้ากับสภาพเงื่อนไขต่าง ๆ ทันคน  ทันงาน  ทันการณ์  (กาล)  ทันเกมของการเปลี่ยนแปลงคนยุคเศรษฐกิจไร้พรมแดน  ปัจจัยการเมือง  สังคม  วัฒนธรรมทั้งภายในประเทศและในโลก  ล้วนเป็นตัวเร่งให้นักบริหารไม่สามารถจะจมอยู่ในโลกใบเก่า  โดยปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตนี้ได้ (Dynamic)*นี้ได้
ผู้บริหารที่ดีนอกจากมีคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว  จะต้องเพียบพร้อมทั้งคุณงามความดี  ศักยภาพองคาพยพ (Organism)**   ในโลกยุคโลกาวัฒน์ไร้พรมแดน หรือโลกยุค IT ผู้บริหารที่ดีต้องเรียนรู้ แนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ แล้วนำไปเสริมกับแนวคิดและวิธีการที่ดีงานที่มีและปฏิบัติอยู่แล้ว

แหล่งที่มา:: http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-2-2.htm

ความสำเร็จของผู้บริหาร


ผู้บริหารจะต้อง จะต้องนำความสำเร็จ 3 สิ่งนี้มาสู่องค์กร คือ.
1. นำคนได้
2. นำการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรได้
3. สยบปัญหาได้

การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์การบริหาร เป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร
โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)

การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
หลักการมีส่วนร่วม ความหมาย หลักการมีส่วนร่วม หรือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ
หลักการสร้างทีมงาน ทีมงาน หมายถึง กลุ่มคนที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน อาจกล่าวโดยสรุป ทีม คือ กลุ่มของบุคคลทีมีการเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอน
การสร้างทีมงานในหน่วยงาน หมายถึง การปรับความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
ความสำเร็จของผู้บริหาร
ผู้บริหารที่ดีต้องพยายามเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และต้องสนใจปรับปรุงพัฒนาทักษะในการจัดการเกี่ยวกับบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จของผู้บริหาร ก็คือ ความสามารถทำให้ผู้ร่วมงานได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการและมีความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติหากผู้บริหารเข้าถึงจิตใจและมีเทคนิคการตอบสนองในแต่ละสถานการณ์ แต่ละกลุ่มและแต่ละบุคคล ก็จะเป็นการประสานจิตประสานใจให้บุคลากรภักดี และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศการบริหารให้เกิดแรงจูงใจให้บุคลากรเข้ามาร่วมทำงานโดยมีความพึงพอใจในผลงานที่ปฏิบัติจะทำให้งานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ บรรลุสัมฤทธิผลตามที่พึงปรารถนาได้การสร้างบรรยากาศการบริหาร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ มีความสุขในการทำงาน มีความรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ในที่ทำงาน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก บรรยากาศการบริหารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบโครงสร้างการบริหาร กระบวนการบริหาร การใช้เทคนิควิธี การจัดสภาพแวดล้อม การมีมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามสถานการณ์ที่เหมาะสม การมอบหมายงาน การกำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผล ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างมากต่อผลงานที่ปรากฏ เพราะงานใดก็ตามถ้าผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจในงานที่กระทำอยู่ก็จะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ทั้งจะก่อให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผลการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยสามอย่าง ได้แก่ ความสามารถ สภาพแวดล้อม และแรงจูงใจ ถ้าบุคคลมีความสามารถที่จำเป็นได้รับการสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมขององค์การและจูงใจอย่างเพียงพอแล้ว พวกเขาย่อมมีโอกาสดีที่สุดที่จะบรรลุเป้าหมายได้
ดังนั้นจะเห็นว่าการสร้างบรรยากาศการบริหารที่ดีและการสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรทุกฝ่ายทุกคนในโรงเรียน จึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานอันจะส่งผลให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา ที่จะช่วยนำโรงเรียนไปสู่ความเป็นเลิศได้

บทบาทและสมรรถภาพของ ผู้บริหารมืออาชีพ 1. เป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร (Direction Setter ) เช่น รู้เทคนิคต่าง ๆ ของการบริหาร PPBS, MBO , QCC ,MIS , SWOT ,PERT ,QCC เป็นต้น
2. มีความสามารถกระตุ้นคน (Leader Catalyst)
3. ต้องเป็นนักวางแผน (Planner)
4. ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decision Maker)
5. ต้องมีความสามารถในการจัดองค์การ (Oraganizer)
6. ต้องเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (Change Manager)
7. ต้องเป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Coordinator)
8. ต้องเป็นผู้ติดต่อสื่อสารที่ดี(Communicatior)
9. ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาขัดแย้งในองค์การได้ (Conflict Manager)
10. ต้องสามารถบริหารปัญหาต่าง ๆ ได้(Preblem Manager)
11. ต้องรู้จักวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System Manager)
12. ต้องมีความสามารถในด้านวิชาการทั้งการเรียนและการสอน (Instructional Manager)
13. ต้องมีความสามรถในการบริหารบุคคล (Personnel Managr)
14. ต้องมีความสามารถในการบริหารทรัพยากร (Resource Manager)
15. ต้องมีความสามารถในการประเมินผลงาน (Appraiser)
16. ต้องมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ (Public Relator)
17. ต้องสามารถเป็นผู้นำในสังคมได้ (Ceremonial Head)

แหล่งที่มา::http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=36749&name=content32&area=3

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

การบริหารงานองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

การบริหารงานองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
Categories: การบริหารจัดการ
ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2554 มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมวิชาการที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้นในเรื่อง การบริหารงานห้องสมุดแบบมืออาชีพ (Professional Library Management) นับว่าเป็นโอกาสดีในชีวิตอีกครั้งที่ได้ฟังผู้มีประสบการณ์ในการบริหารแบบมืออาชีพจากหลายองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหารจากบริษัทซีพี  และวิทยากรอีกหลายท่านที่เป็นแบบอย่างของผู้นำที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ  ดิฉันจึงนำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายและจากเอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากร  มาประมวลให้ทราบถึงการบริหารงานองค์กรแบบมืออาชีพ เพื่อให้ผู้สนใจที่ไม่มีโอกาสเข้ารับฟัง สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริหารงานห้องสมุดให้ประสบผลสำเร็จ
การบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ  ผู้บริหารควรปฏิบัติดังนี้
1.สร้างคนเก่ง
ปรัชญาและแนวคิดการสร้างคนเก่งของเจ้าสัวธนินทร์ เจียรวนนท์  ได้แก่ คนเก่งต้องการอำนาจ เกียรติ และ เงิน
-          อำนาจ :คนเก่งต้องมีเวที  มีอำนาจสำหรับใช้ในการแสดงความสามารถ
-          เกียรติ :คนเก่งต้องได้รับการยอมรับ
-          เงิน :ผลตอบแทนที่จูงใจ
องค์กรควรมีนโยบายพัฒนาคนเก่ง สร้างคนที่เก่งกว่าตนเองขึ้นมา เลือกคนให้ถูก ใช้คนให้เป็น
-          เลือกคนที่มีความรับผิดชอบสูง
-          เลือกคนที่มีความขยัน
-          เลือกคนที่มีความอดทน
-          เลือกคนที่มีความพยายามสูง
-          เลือกคนที่ไม่เห็นแก่ตัว
องค์ประกอบที่ทำให้คนเรามีความเจริญ  คือ ต้องมีโอกาส  ต้องมองจุดเด่นของผู้อื่น ต้องเป็นคนมีจิตใจให้อภัยไม่อาฆาต ต้องหาปมด้อยของตนเอง และต้องรู้จักเสียเปรียบ
2. มีกลยุทธ์การบริหารงาน   ประยุกต์ใช้เครื่องมือ Balances Scorecard  ศึกษาวิจัยหาความต้องการของลูกค้า
3. มีกลยุทธ์ในการบริหารงานคน  สร้างค่านิยม  สร้างวัฒนธรรมการสร้างคนเก่ง เครียมคนเก่ง  พัฒนาผู้นำในทุกระดับ หาตัวตายตัวแทน
มีปัจจัยที่จะกระตุ้นให้คนทำงาน   หัวหน้าต้องชื่นชม/ยกย่องลูกน้อง ต้องมีผลตอบแทนที่จูงใจ ทำงานแบบ TQM เชื่อมประสานงานให้กลมกลืน เหมือนการบรรเลงดนตรีวงออเคสตาร์ (Orchestra)
4. เป็นผู้ที่มีทักษะกระบวนการในการสร้างให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ (Synergy Leaadership)จากบุคคลรอบตัว อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จเกินเป้าหมาย
ลักษณะผู้นำที่จะสร้างลูกน้องให้เกิดพลัง
1.สื่อเป้าหมายอย่างชัดเจน  ต้องการให้ทำอะไรเพื่อให้ประสบผลสำเร็จอย่างไร
2.ดึงศักยภาพของลูกน้อง หัวหน้าต้องรู้ว่าลูกน้องแต่ละคนชำนาญด้านไหน วิเคราะห์ลูกน้องเพื่อดึงพลัง
3.ทำอะไรคิดถึงผลกระทบก่อน  เช่นจะเปลี่ยนแผนกลูกน้องต้องอธิบายสิ่งที่เขาจะได้รับ  ไม่ทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าทำผิดจึงถูกปรับเปลี่ยนงานเป็นต้น
4.เข้ากันให้ได้  หัวหน้าต้องโน้มตัวเข้าหา จับมือไว้ แล้วไปด้วยกันเสมอ ทำอะไรให้ทำไปด้วยกัน
5.ให้กำลังใจลูกน้อง ให้รางวัลลูกน้อง ชื่นชม ยกย่องอย่างเสมอภาค
6.หัวหน้าต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อจะได้คิดช่วยเหลือลูกน้องเมื่องานไม่ประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้  เปรียบเสมือนบินอยู่ที่สูงมองเห็นปัญหาที่งานไม่สำเร็จ และลงมาร่วมปฏิบัติเพื่อให้สำเร็จ ต้องลงมาคลุกกับงานด้วยถ้ามีความจำเป็นเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย ต้องทำให้เห็น
7.ให้มาก ๆ ฟังมาก ๆ   พูดดี คิดดี และทำดี อย่าลืมว่าคนอื่น ๆ แม้จะไม่สามารถจดจำคำพูด หรือการกระทำที่เราทำหรือพูดกับเขาได้ แต่เขาจดจำความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากคำพูดและการกระทำของหัวหน้าได้
8.หัวหน้าต้องจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสื่อสารที่รวดเร็ว  แก้ไขปัญหาเร็ว
9.ส่งลูกน้องไปอบรมเป็นกลุ่ม  หลีกเลี่ยงการส่งไปเพียงคนเดียวเพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด
10.ควรมีวิธีจัดการกับลูกน้องที่มีนิสัยส่วนตัวเป็นอุปสรรคในการทำงาน เช่นโทรศัพท์ส่วนตัวในเวลางานมาก หัวหน้าไม่ควรต่อว่านิสัยส่วนตัวเป็นลำดับแรก    ควรอธิบายและแจ้งวัตถุประสงค์ในการทำงานซึ่งหากลดอุปสรรคจะทำให้มีผลงานดีขึ้นเป็นต้น
11.หัวหน้าต้องควบคุมงาน  แต่การควบคุมต้องอย่าให้ลูกน้องรู้สึกถูกบีบบังคับ
นอกจากสร้างพลังจากลูกน้องแล้วยังต้องสร้างกับบุคคลรอบข้างเช่น
สร้างพลังจากหัวหน้า  ต้องเข้าใจเป้าหมายองค์กร  รู้เป้าหมายแผนก  เรียนรู้style หัวหน้า
สร้างพลังจากต่างแผนก  ต้องให้ความร่วมมือ  ไม่เข้าข้างลูกน้องตัวเองจนเกินไป
สร้างพลังจากลูกค้า รู้ความต้องการของผู้ใช้บริการ   ช่วยผู้ใช้บริการเสมอ
สร้างพลังจากครอบครัว ลดตัวตนเองลง
สร้างพลังจากบุคคลอื่น อย่าเอาเปรียบ มีความจริงใจ  พันธมิตรwin-win

5. ต้องมีการบริหารความเสี่ยง  ต้องประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในองค์กร โดยพิจารณาโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยงนั้น ๆ ว่าจะยอมรับได้หรือต้องจัดการกับความเสี่ยงนั้น ๆ เพราะความเสี่ยงนั้นอาจเกิดความเสียหายอย่างมาก เช่น  หากเกิดไฟไหม้ห้องสมุด จะมีความเสี่ยงสูงที่หนังสือจะไหม้หมด แม้โอกาสเกิดอาจมีน้อย  ผู้บริหารอาจตัดสินใจทำประกันภัย เป็นต้น
6. ต้องมีการคิดนวัตกรรม เพื่อให้ได้สินค้าและบริการใหม่  ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาทำงาน เพิ่มระดับความพึงพอใจ โดยองค์กรกระตุ้นบุคลากรในองค์กรทุกส่วนร่วมกันคิดนวัตกรรม เช่น จัดประกวดนวัตกรรม   ตัวอย่างการจัดประกวดนวัตกรรม ของบริษัทซีพีประจำแต่ละปี  มีโครงการได้รับรางวัล  ติ๋มซำ(เกี๊ยวกุ้ง) ทำไมต้องนึ่ง ทำให้บริษัทได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ , โครงการบริษัทกำจัดผี  ทำให้บริษัทได้ร่วมกับคู่ค้าผลิต mp3 ถูกลิขสิทธิ์จำหน่าย , โครงการสะดวกบุญ  มีปฏิทินทำบุญเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทำให้บริษัทเป็นองค์กรการกุศลในโลก โครงการข้าวเหนียวช่วยชาติ ทำให้ได้รูปแบบข้าวเหนียววางจำหน่ายและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น  นอกจากสร้างนวัตกรรมแล้วควรมีการประเมินผลลัพธ์ด้วย หากนวัตกรรมใดยังไม่แน่นอน เช่นยอดจำหน่ายขึ้น-ลง อาจจัดเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์เท่านั้น  นวัตกรรมคือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม
7. ต้องมีทักษะในการเจรจาต่อรอง  สถานการณ์การเจรจาต่อรองไม่ได้เกิดเฉพาะการจัดซื้อเท่านั้น แต่การเจรจาต่อรองจะเกิดได้ทุกเวลาเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง ตกลงกันไม่ได้  ผู้บริหารควรมีกรอบคิดเน้นประโยชน์มากกว่าความถูกต้อง เน้นสิทธิมากกว่าอำนาจ เช่นหากผู้ปฏิบัติงานไม่ทำงานนอกเวลาทำการในเวลาเย็น หากมีความจำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จผู้บริหารอาจต่อรองให้มาปฏิบัติงานในช่วงเช้าก่อนเวลางานเป็นต้น  ควรเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรสลับบทบาทคิดว่าหากตนอยู่ในสภาพของอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความรู้สึกดีต่อกัน ต้องสามารถควบคุมตนเอง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และทัศนคติที่ดี อดทนต่อความขัดแย้งและความคลุมเครือได้ ไม่เหนื่อย หรือเบื่อง่าย
8.ต้องมีการบริหารผลการปฏิบัติงาน  ซึ่งเป็นกระบวนการร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหาร หัวหน้า และบุคลากรแต่ละคนในการบริหาร เพื่อให้ได้ผลการปฏิบัติงานที่ตอบสนองต่อเป้าหมาย และทิศทางขององค์กร เน้นการบริหารข้อตกลง มากกว่าการบริหารโดยคำสั่ง และเน้นพันธะความรับผิดชอบร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

แหล่งที่มา:: http://lib.ku.ac.th/blog/?p=4391

หลักการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการวางแผนให้เป็นระบบ และทำงานอย่างชาญฉลาดเรียกว่า work smart ที่เป็นการทำงานโดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อทำงานให้มีคุณค่ามากที่สุด โดยมีหลักของการบริหารดังนี้
1.การบริหารเวลา
2.การบริหารงาน
3.การบริหารคน
หากประสิทธิภาพครบทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว งานจะประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
การบริหารเวลา
คือการกำหนดเวลาทำงานแต่ละอย่างแต่ละชิ้นไว้ล่วงหน้าในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนกี่โมง ตื่นแล้วทำอะไรบ้าง แล้วออกไปทำงาน มีนัดกับใครบ้างในแต่ละวัน ใช้โทรศัพท์ นานเท่าไหร่ เลิกงานทำอะไรบ้าง จัดสรรวันพักผ่อนอย่างไร ออกกำลังกายกี่โมง จนไปถึงดินเนอร์และก่อนเข้านอน ซึ่งแต่ละช่วงของแต่ละวัน ฉะนั้นต้องมีแพลนนิ่งที่ดี ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะต้องมี planning ซึ่งเป็นเหมือนปฏิทินลงบันทึกประจำวัน เพื่อเตือนความจำไว้ล่วงหน้า อันจะนำพาให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
การบริหารงาน
คือการจัดสรรความสำคัญ ลำดับเวลาของการทำงาน อันไหนควรทำก่อน อันไหนควรทำทีหลัง งานไหนควรทำเอง และอันไหนควรให้ผู้อื่นทำ และควรมอบงานให้กับใครทำ ซึ่งมี อยู่ถึง 4 ประเภทได้แก่
หลักการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
1.งานสำคัญและเร่งด่วน เป็นงานที่ควรทำด้วยตัวเอง และต้องทำทันที เพราะหากให้คนอื่นไปทำ อาจจะไม่ดีเท่า เช่นงานประชุมสัมมนา การเจรจาต่อรอง เป็นต้น
2.งานสำคัญ แต่ไม่ด่วน เราควรทำงานนี้ ซึ่งอาจจะเป็นงานที่เกี่ยวกับการวางแผนเป้าหมาย ช่วยทีมงานวางแผนการทำงาน
3.งานด่วน แต่ไม่สำคัญ งานนี้ควรมอบหน้าที่ให้คนอื่นทำ เพราะเรามีงานอีกมากมายที่ต้องกระทำเช่นการนัดหมาย งานพิมพ์ งานจัดเอกสาร การจัดเตรียมข้อมูลเป็นต้น
4.งานทั่วไป เป็นงานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ให้คนอื่นทำไปเถอะ เช่นงานทำความสะอาด เช็ดโต๊ะ ถูโต๊ะ เป็นต้น
ผู้บริหารที่ดีจะทำงานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เท่านั้น
การบริหารคน คือการสร้างสื่อสายสัมพันธ์ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
โดยธุรกิจเครือข่าย มีหลักการบริหารคนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จดังนี้
1.recruit แนะนำหรือชักชวนคนมาร่วมงานตลอดเวลา เมื่อมีโอกาส โดยทำอย่างมีระบบ และมีการตระเตรียมมาอย่างดี
2.trainning การฝึกอบรมคอร์สต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนไปถึงขั้นสูง ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นหัวใจในการบริหารคน ทำให้การทำงานของแต่ละคนมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ทีมงานแข็งแกร่ง
3.motivate การกระตุ้นให้กำลังใจ สร้างพลังในการทำงานเช่นการแข่งขันชิงรางวัลอันทรงเกียรติ การจัดโปรโมชั่นการแข่งขันไปท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นต้น
4.supervise การควบคุมดูแล การเอาใจใส่ทีมงานอย่างใกล้ชิด ด้วยจิตไมตรีและจริงใจต่อกัน

แหล่งที่มา:: http://gogo-tvi-express.blogspot.com/2009/10/blog-post_28.html

ISO 9000

ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี

การบริหารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนและงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานดังนั้นจึงต้องใช้การปกครองอย่างมีศิลปะ เพื่อให้สามารถครองใจคนและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพ ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ การดูแล การจูงใจจะต้องนำก่อนทำเป็นตัวอย่างตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ชื่นชมยินดี ประเภทของผู้นำ

ผู้นำแบบเผด็จการ เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเองถือเรื่องระเบียบวินัย กฏเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในแง่การบริหารงานทางด้านวิชาการด้านธุรกิจจะเปรียบเสมือนกิจการที่เป็นเจ้าของบุคคลเดียว ที่มีการดำเนินการและตัดสินใจเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้น

ผู้นำแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบัน ให้สิทธิ์ในการออกความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยการเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นลักษณะหนึ่งที่สังคมค่อนข้างจะยอมรับกันมากกว่าผู้นำประเภทอื่น ๆ

ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อย ๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของผู้ร่วมงานอย่างมาก ผู้นำประเภทนี้จึงมีมากมายตามแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ บางครั้งอาจมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ดีซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขยันอาจจะไม่ชอบลักษณะผู้นำประเภทนี้
ในทางปฏิบัติบางแห่งในตัวผู้นำอาจจะมีรูปแบบของการเป็นผู้นำทั้ง 2 ประเภทในคนเดียว อาจจะมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นออกมาแต่ละประเภท ซึ่งสามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลักษณะการใช้อำนาจของผู้นำแตกต่างกันออกไป เพราะในตัวผู้นำแต่ละคนมีอำนาจมีอิทธิพล สามารถดำเนินการหรือสั่งการได้ตามความเหมาะสม

การใช้อำนาจของผู้บริหารแบ่งได้ดังนี้
การใช้อำนาจเด็ดขาด อาจจะเป็นในวงการทหารหรือตำรวจ จะเห็นได้อย่างเด่นชัดซึ่งจำเป็นจะต้องมีความเด็ดขาดในการสั่งการ เพราะทหาร ตำรวจ จะต้องมีวินัยในการปกครองซึ่งกันและกัน บรรดาตำรวจที่มีอาวุธอยู่ในมือด้วยแล้ว หากขาดวินัยก็จะเสมือนกับกองโจรที่สามารถกระทำผิดได้ตลอดเวลา

การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ ผู้นำโดยทั่วไปเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทนรวมไปถึงประสบการณ์ในการบังคับบัญชาคน หากการทำงานโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป

การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ เป็นลักษณะของการใช้อำนาจวิธีการหนึ่งซึ่งใช้กันอย่างมากมาย เพราะผู้บริหารที่เปิดใจกว้างย่อมได้รับการยอมรับของผู้ร่วมงานด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสอนงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะการใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ

การใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วม บางคนอาจจะบอกว่าการใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วมถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเนื่องจากผู้บริหารเปิดใจกว้าง ผลผลิตที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่จะต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมรวมถึงลักษณะของการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ

หน้าที่ของผู้นำแบ่งออกได้ดังนี้
ลักษณะของการควบคุม คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ใครมาควบคุม แต่ในทางปฏิบัติงานแล้ว การควบคุมอยู่ห่าง ๆ จะได้ผลดีตามมาในลักษณะของการติดตามผลงานอาจจะใช้การควบคุมด้วยระบบเอกสาร ระบบของงานที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันหรือเป็นการควบคุมในระบบด้วยตัวของมันเองอย่างอัตโนมัติ

ลักษณะของการตรวจตรา เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวหรือผลการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขในเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ทันการ

ลักษณะของการประสานงาน การประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการประสานงานในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงานถือว่าเป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน

ลักษณะของการวินิจฉัยสั่งการ การสั่งการของผู้นำถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะผู้นำที่ดีจะรู้จักการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวินิจฉัยสั่งการที่ดีนั้นจะต้องมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที

ลักษณะของการโน้มน้าวให้ทำงาน ผู้นำมีหน้าที่หลักอย่างหนึ่งคือการชักชวนให้สมาชิกมีความสนใจในการปฏิบัติงานหน้าที่การงานด้วยความตั้งใจ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเต็มใจที่จะทำงานนั้น ๆ ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด

ลักษณะของการประเมินผลงาน การพิจารณาความดีความชอบตลอดระยะเวลาการทำงานของพนักงานถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีควรกระทำเป็นระยะ ๆ และสามารถแจ้งผลให้ผู้ที่ถูกประเมินได้ทราบเพื่อจะได้แก้ไขในโอกาสต่อไป หากสามารถประเมินผลงานได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลย่อมลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน

คุณสมบัติที่ดีของผู้นำ
มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีสติปัญญาดีก็เกิด

เป็นผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดีคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่นคงมีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความสนใจและใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

เป็นผู้ที่มีแรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานตรงนั้นให้เกิดความสำเร็จ

เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีผู้นำจะต้องตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดีในการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ลักษณะของผู้นำที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย

ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา

ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี

ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย
การบริหารงานในปัจจุบันนี้ผู้บริหารทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาวะการเป็นผู้นำเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะจะสามารถได้ใช้หรือพยายามชี้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานออกมาในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด พึงระลึกไว้เสมอว่าพนักงานทุกคนมีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน เป็นผู้ที่ผลักดันให้งานทุกอย่างของกิจการนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น การบริหารงานที่ดีจะต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะ ความเป็นผู้นำและเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งการดำเนินชีวิตไปพร้อม ๆ กัน


แหล่งที่มา:: http://women.sanook.com/work/www/www_28334.php

ISO 14000

การบริหารงานอย่างมีสติ

การบริหารงานอย่างมีสติ การบริหารงาน คือ การจัดการงานให้สำเร็จได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้ทรัพยากรและบริหารคนอย่างคุ้มค่า ดังนั้น การบริหารงานเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายจึงต้องใช้เทคนิค การบริหารงานอย่างมีวัตถุประสงค์ด้วยการ 1. กำหนดวัตถุประสงค์งานให้ชัดเจน 2. ชี้แจงทำความเข้าใจ งานกับทีมงาน 3. กำหนดขั้นตอน เวลา และการใช้ทรัพยากร ผลงานที่ต้องการให้ชัดเจน 4. บริหารงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ความยุ่งยาก การสื่อให้ทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์งานกับทีมงาน บางโครงการที่เป็นงานยาก เจ้าหน้าที่มีความรู้ไม่เพียงพอที่จะเข้าใจเป้าหมายงานว่าทำเพื่ออะไรหรือเจ้าก็ไม่ใส่ใจเป้าหมายวัตถุประสงค์ของงาน จำเป็นต้องชี้แจงอย่างต่อเนื่อง พากเพียรที่จะชี้แจงบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันโดยมุ่งให้งานสำเร็จ


แหล่งที่มา: http://opens.dpt.go.th/dpt_kmcenter/index.php?option=com_content&task=view&id=68&Itemid=1

ทักษะของนักบริหาร (Management Skills)

ทักษะของนักบริหาร (Management Skills)
ผู้บริหารไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด หรืออยู่ในองค์การใดก็ทําหน้าที่ในการจัดการ 4 อย่าง ได้ แก่ การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การโน้มนํา (leading/influencing) และการควบคุม (controlling) และการที่ผู้บริหารจะสามารถทําหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการได้ประสบผลสําเร็จนั้น ต้องมีทักษะที่ดีด้านการจัดการ ซึ่งทักษะสําคัญในเบื้องต้นที่ผู้บริหารควรมีอย่างน้อย 3 อย่าง ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) ทักษะด้านคน (human skills) และทักษะด้านความคิด (conceptual skills)
ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) เป็นความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรุ้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับงาน สําหรับผู้บริหารระดับสูงทักษะความสามารถนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุ้ทั่วไปของอุตสาหกรรม ขบวนการและผลิตภัณฑขององค์การ และสําหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับต้น จะเป็นทักษะความสามารถเฉพาะด้านในงานที่ทํา เช่น การเงิน ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศ การผลิต ระบบคอมพิวเตอร์ กฎหมาย การตลาด เป็นต้น ทักษะทางด้านเทคนิคมักเป็นความสามารถเกี่ยวกับตัวงาน เช่น ขบวนการหรือผลิตภัณฑ
ทักษะด้านคน (human skills) เป็นทักษะในการทําให้เกิดความประสานงานกันของกลุ่มที่ผู้บริหารนั้นรับผิดชอบ เป็นการทํางานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทัศนคติ การสื่อสาร และผลประโยชน์ของบุคคลและกลุ่ม เป็นทักษะการทํางานกับคน
ทักษะด้านความคิด (conceptual skills) เป็นความสามารถในการมององค์การในภาพรวม ผู้บริหารที่มีทักษะด้านความคิด จะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆในองค์การว่ามีผลต่อกันอย่างไร และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับปัจจัยแวดล้อมองค์การ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในส่วนหนึ่งขององค์การมีผลกระทบกับส่วนอื่นๆอย่างไร
ทักษะด้านความคิดนี้จะยิ่งมีความสําคัญมากขึ้นเมื่ออยู่ในระดับบริหารที่สูงขึ้น ขณะที่ทักษะด้านเทคนิคจะมีความสําคัญน้อยลงในระดับบริหารที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้บริหารในระดับที่สูงจะเข้ามาดูแลในรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในการผลิต และด้านเทคนิคน้อยลง แต่จะเน้นไปที่การมองภาพรวมขององค์การและทิศทางที่จะพัฒนาไปขององค์การมากกว่า ส่วนทักษะด้านคน ยังคงมีความสําคัญอย่างมากในทุกระดับของการบริหาร เพราะทุกระดับต้องเกี่ยวข้องกับคน


แหล่งที่มา:: http://www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5355384&Ntype=3