วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

"ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ" นักบริหารมือทอง ฟื้น 2 พันบริษัท

มุมสำหรับนักบริหาร ที่มองหาแนวทาง การบริหารงาน และการจัดองค์กร แนะแนวคิดด้านบริหารจัดการใหม่ๆ ที่กำลังได้รับ ความสนใจ จากนักบริหาร และในแวดวง การพัฒนาบุคลากร
จากสมุดบันทึกกว่า 70 เล่มที่ถูกถ่ายทอดเป็นหนังสือ "จากสมุดบันทึกของผม" หรือ President ’s Note รวบรวมแนวคิด 142 ข้อจากประสบการณ์บริหารธุรกิจ

สามารถแก้ไขวิกฤติของบริษัทกว่า 2,000 แห่ง ไม่เพียงได้อ่าน ยิ่งมีโอกาสได้พูดคุยกับเจ้าของประสบการณ์ ยิ่งทึ่งในแนวคิดของชายมากประสบการณ์ผู้นี้
ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ นักบริหารมือทองจากเมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันนั่งเก้าอี้ CEO และผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยศักยภาพบริษัท และยังเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจนานาชาติ มีประสบการณ์การทำงานกว่า 40 ปี ถือเป็นสุดยอดนักบริหารที่เฉียบคมและเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูกิจการ ทำให้สามารถกอบกู้กิจการบริษัทต่างๆ ที่กำลังจะล้มละลายให้สามารถปลดหนี้และกลับมีกำไรได้อีกครั้ง
“ผมใช้เวลาหลังเลิกงาน เริ่มเขียนบันทึกเกี่ยวกับการทำงานตั้งแต่อายุ 27 ปี ทำมาแล้วถึง 45 ปี โดยส่วนใหญ่จะเลือกจดบันทึกในเรื่องธุรกิจ ทำให้มีสมุดบันทึกมากถึง 70 เล่มแล้วตอนนี้ และเห็นว่ามีหลายเรื่องในสมุดบันทึกที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารเลยอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์และแนวคิด กลายมาเป็นหนังสือจำนวน 7 เล่ม โดยเล่มนี้เป็นเล่มที่ 3 ซึ่งนำมาแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยครั้งแรก”
เขาอธิบายถึงเนื้อหาในหนังสือว่า ผลงานและแนวคิดทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถูกนำมากลั่นกรองเป็น "ทฤษฎี" ในการบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบของตัวเขาเอง
โดยมีหลักการง่ายๆ คือ ทำอย่างไรจึงจะให้บริษัทนั้นๆ สามารถ "สร้างพลัง" เพื่อดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ
แม้แนวคิดของเขาดูไม่ต่างจากแนวคิดในการบริหารองค์กรทั่วไป แต่เขาบอกว่า "ไม่ใช่เรื่องง่าย" ที่จะทำได้อย่างที่บอก โดยเขามองว่า การสร้างพลังต้องเกิดจากการสร้างสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ดี ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของคนในองค์กรนั้นๆ และถือเป็นแนวทางแรกสุด ไม่ว่าจะฟื้นฟูกิจการใดๆ ก็ตาม
นอกจากเรื่องของสภาวะแวดล้อมในการทำงานแล้ว ทฤษฎีของเขายังกลั่นกรองแนวคิดเหลือ 142 ข้อเพื่อทำให้ผู้บริหารและบุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้ได้ง่าย กระชับ และรวดเร็ว จนหนังสือติดอันดับ Best seller ทำยอดขายมากที่สุดในญี่ปุ่น
โดยในแนวคิดจำนวน 142 ข้อนี้ยังถูกนำมาทำให้กระชับลงอีกเป็น 3 ข้อใหญ่ ได้แก่
ข้อแรก ศักยภาพในการบริหารองค์กร หมายถึงทำอย่างไรผู้บริหารจึงจะมีศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อองค์กรมากที่สุด ที่สำคัญองค์กรจะรอดหรือไม่รอดขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้บริหาร
ข้อที่สอง ความมีเอกภาพขององค์กรนั้นๆ สะท้อนให้เห็นจากการแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ เช่น สินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่ สินค้านั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งพนักงานมีความรู้-ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
โดยเขาอธิบายให้ฟังว่า ถ้าคนในองค์กรมีความคิดที่มีเอกภาพไปในแนวทางเดียวกันกับองค์กรแล้ว ผลงานหรือสินค้านั้นๆ ก็จะถูกพัฒนาออกมาได้อย่างมีคุณภาพเช่นกัน
และข้อที่สาม ทำอย่างไรจึงจะทำให้องค์กรอยู่รอดได้ โดยต้องอยู่รอดอย่างมีความเสี่ยง "น้อย" ที่สุด
"ถ้าทำได้ตาม 3 ข้อนี้ รับรองว่าองค์กรจะไม่ขาดทุน หรือล้มละลาย โดยเขาเองกล้าการันตีจากประสบการณ์ที่เขาเข้าไปช่วยให้แนวคิดในการบริหารงานกับบริษัทกว่า 2,000 แห่งให้กลับมามีตัวเลขผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น"
เขายังบอกด้วยว่า ประสบการณ์ในการฟื้นฟูกิจการกว่า 2,000 บริษัทในญี่ปุ่น ไม่มีบริษัทใดที่เลือกใช้วิธี "ปลดพนักงาน" แม้แต่บริษัทเดียว
"โดยส่วนตัวผมเกลียดวิธีปลดพนักงานมาก การบริหารงานผิดพลาดน่าจะเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบมากกว่าการปลดพนักงานซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ"

ฮาเซงาวะ ยังเล่าถึงประสบการณ์ที่เขาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูกิจการว่า อย่างตอนที่บริษัทนิคอนรวมตัวกับบริษัทเอซิรอล ผู้ผลิตเลนส์ของฝรั่งเศส เขาเข้ามาช่วยตั้งแต่การบริหารจัดการร่วม ไปจนถึงการก่อตั้งบริษัทร่วม จนสามารถฟื้นฟูบริษัทให้กลับมามีกำไรจากการขายในปีแรก พอปีที่สองก็เริ่มมีกำไรจากการบริหารงานจนสามารถจ่ายเงินปันผลได้ ปีที่สามสามารถปลดหนี้ได้

เขายังบอกด้วยว่า การบริหารงานของบริษัทในขณะนี้ "สุ่มเสี่ยง" ต่อการบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดทุน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีบริษัทลูกกระจายอยู่ทั่วโลก เพราะอาจลืมหรือไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการดึงศักยภาพของพนักงานออกมาใช้อย่างเต็มที่

"ผมอยากให้ทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ของผม เพราะเชื่อว่าอย่างน้อยคุณจะได้แง่คิดจากประสบการณ์การทำงานของผมเพื่อนำไปใช้กับการทำงาน และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริหารและบุคคลทั่วไป"

ฮาเซงาวะ บอกว่า หลายบริษัทในญี่ปุ่นถึงขนาดทำเป็นป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอวิธีคิดของเขาแปะไว้ในบริษัทเพื่อให้พนักงานทุกคนได้อ่าน นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารหลายคนที่นำเอาแนวคิดของเขาไปใช้แล้วประสบความสำเร็จและเขียนจดหมายมาขอบคุณ

นักบริหารอย่างเขายังมอง "ความแตกต่าง" ระหว่างบริษัทสัญชาติตะวันตก กับบริษัทสัญชาติเอเชียว่า มีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของสปิริตในการทำงาน เช่น การปลดพนักงานบริษัทในยุโรปหรืออเมริกามักจะเลือกใช้วิธีนี้ก่อน ต่างจากบริษัทในเอเชียที่มักจะไม่ค่อยทำกัน ทำให้บริษัทมีความเป็นเอกภาพค่อนข้างสูง

ในวัย 71 ปีของเขา ถือว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากมายหลากหลาย และเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการทำงานเขาบอกว่า ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิตได้นั้น ต้องเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ การมองอดีต ทำให้รับรู้ปัจจุบัน และทำให้เรามองเห็นอนาคต นี่คือส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้เขาประสบความสำเร็จ

ทว่า สิ่งที่จะขาดไม่ได้สำหรับผู้ที่จะประสบความสำเร็จคือ ความจริงใจ และความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำธุรกิจ อีกสิ่งที่สำคัญคือ


แหล่งที่มา::http://www.nationejobs.com/content/manage/concept/template.php?conno=1079

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น